การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุทางถนนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ขั้นตอน 1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนน ประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนหรือญาติที่เข้ารับการรักษาพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย ระหว่าง 1-31 มีนาคม 2564 จำนวน 19 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า การได้รับข้อมูลและการปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่ม Low Risk ร้อยละ 40.0 อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยกลุ่ม Moderate Risk ร้อยละ 20.0 อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 30.0 อยู่ในระดับปานกลาง ผู้ป่วยกลุ่ม High Risk ร้อยละ 16.7 อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 33.3 อยู่ในระดับปานกลาง ขั้นตอน 2 พัฒนารูปแบบการพยาบาล ด้วยการศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยรูปแบบการพยาบาล ประกอบด้วย 1) การประเมินเบื้องต้นและการคัดกรอง 2) การประเมินและการช่วยเหลือระยะแรก 3) การช่วยเหลือระยะที่สอง และ 4) ระยะเตรียมจำหน่าย ขั้นตอน 3 การทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาล ระหว่าง 1-31 พฤษภาคม 2564 พบว่า ภายหลังการทดลองคะแนนการได้รับข้อมูลและการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบว่าภายหลังการทดลองคะแนนการปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลและความพึงพอใจการปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขั้นตอน 4 สรุปบทเรียนการใช้รูปแบบการพยาบาลพบว่า ควรมีการชี้แจง ทบทวนแนวปฏิบัติและพัฒนาความรู้ให้ครอบคลุมทีมพยาบาลและควรประเมินผล นิเทศการปฏิบัติตามรูปแบบการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
References
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2562). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561. กระทรวงคมนาคม.
ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2559). แนวทางการรักษาพยาบาลด้านศัลยกรรม CLINICAL
PRACTICE GUILDLINES IN SURGERY สาขา: ประสาทศัลยศาสตร์. บาดเจ็บที่ศีรษะ. (วันที่
ค้นข้อมูล 10 มีนาคม 2559) แหล่งข้อมูล: http://www.rcst.or.th/cpg/2N98.pdf
สุมามิตา สวัสดินฤนาท วิภา แซ่เซี้ยและประณีต ส่งวัฒนา. (2556). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่อความเครียดและผลกระทบความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤต. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(1): 26-36.
วิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. กรุงเทพฯ :บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สรสิทธิ์ บุณยะวิโรจ. (2559). การศึกษาความแตกต่างในผลการดูแลรักษาผู้บาดเจ็บศีรษะระดับความรุนแรงน้อยที่มีความเสี่ยงต่อสมองระดับปานกลางที่ห้องสังเกตอาการและหอผู้ป่วยใน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(2): 171-181.
Cassidy, JD., Carroll, LJ., Peloso, PM., Borg, J., Holst, H., Holm, L., et al. (2004). Incidence, risk factors and prevention of mild traumatic brain injury: Results of the WHO collaborating centre task force on mild traumatic brain injury. Journal Rehabilitation Medicine; 43: 28-60.
Yang, CC., Tu, YK., Hua, MS., Huang, SJ. (2007). The association between the postconcussion symptoms and clinical outcome for patients with mild traumaticbrain injury. Journal of Trauma; 62: 657-663.
โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. (2562). รายงานประจำปี 2562. สุโขทัย : โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
Soukup. M. (2000). The center for advanced nursing practice evidence-based practice model
promoting the scholarship of practice. Nurse Clin North Am.
นครชัย เผื่อนปฐม. (2562). แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ. (Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury). กรุงเทพฯ : บริษัท พรอสเพอรัสพลัส จำกัด
Best, John W. (1977). Research in education. (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall.
ไคลศรี บาดาล. (2555). การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะระดับเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษาในห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พงษ์เทพ โกฉัยพัฒน์และลัดดา อินทฤทธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 30(2) : 203-218.
Johnson & Griswold. (2017). Traumatic brain injury: A global challenge. The Lancet Neurology, 16(12), 949-950.
อัญชลี ถิ่นเมืองทอง และคณะ. (2559). การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจากอุบัติเหตุทางถนนในโรงพยาบาลปทุมธานีโดยใช้แนวคิดการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 5-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น