การพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โรงพยาบาลน้ำหนาว อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • นุจิฬาภรณ์ ศิริไมย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย (Expanded chronic care model: ECCM) ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้เน้นการศึกษา 3 องค์ประกอบ ตามปัญหาความเร่งด่วนของโรงพยาบาลน้ำหนาว ได้แก่ 1) การสนับสนุนการดูแลตนเอง (Self management) 2) การออกแบบระบบบริการสุขภาพ (Delivery system design) 3) ระบบฐานข้อมูลทางคลินิก (Information systems) ระยะเวลาในการดำเนินการเดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 โดยมีกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ผลการวิจัยในระยะศึกษาสถานการณ์ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ดูแลมีความรู้ไม่มากพอในการจัดการดูแลตนเอง การให้บริการมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและผู้ให้บริการสุขภาพมีจำนวนจำกัด ระบบฐานข้อมูลทางคลินิก ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ในระยะพัฒนา ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันประชุมระดมสมอง วางแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ระบบสนับสนุนการจัดการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน 2) ระบบบริการในคลินิกเบาหวาน 3) ระบบข้อมูลของโรงพยาบาลน้ำหนาว การประเมินผลพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 มีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ฐานข้อมูลมีการวิเคราะห์และส่งต่อข้อมูลทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2559-2561 (เบาหวาน) [อินเทอร์เน็ต] . [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฏาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบูรณ์. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบ ค้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562] เข้าถึงได้จาก https://pnb.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน). สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

Barr et al. The expanded Chronic Care Model an Integration of Concepts and Strategies from Population Health Promotion and the Chronic Care Model. Hospital Quarterly. 7, 73–82; 2003.

Kemmis S, Mc Taggart R. The action Research Planner. Deakin University.Case management (3nd). Philadelphia ,F A Davis company. 67-69; 2010.

ธัสมน นามวงษ์, สุมาลี ราชนิยม, รัชชนก กลิ่นชาติ. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองในการฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 29(2), 112-122; 2560.

ราตรี โกศลจิตร, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปากพลี จังหวัดนครนายก. พยาบาลสาร. 44(1), 26-38; 2560.

วลัย บุญพลอย, อนัญญา มานิตย์. ผลของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีและแนวทางการดูแลรักษา โดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลพบุรี.วารสารวิชาการ การสาธารณสุข. 18(3), 404-413; 2552.

รังสิมา รัตนศิลา, ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, สิริประภา กลั่นกลิ่น, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 29(1), 26-38; 2558.

วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. การพัฒนาระบบบริการการดูแลต่อเนื่องในกลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวานของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาล].ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-16