ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและครอบครัว

ผู้แต่ง

  • สุพรรณี อุปชัย คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัว ต้อกระจก พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi–Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัวที่มีผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นต้อกระจกรับการรักษาโดยการผ่าตัด ระยะเวลาหลังผ่าตัดไม่เกิน 1 เดือน และครอบครัว จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมผู้ป่วย 15 คน และครอบครัว 15 คน กลุ่มทดลอง ผู้ป่วย15 คน และครอบครัว 15 คน ดำเนินการศึกษาในเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและครอบครัว พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและครอบครัว โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัวที่มีผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ Mann–Whitney U test

ผลการวิจัย พบว่า หลังจากผู้ป่วยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ส่งเสริมสุขภาพครอบครัวที่มีผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mann-Whitney U =12.50, p= <0.001) ครอบครัวกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (Mann-Whitney U =63.00, p= 0.040)

References

Adelson J, Bourne R, Briant P, Flaxman S, Taylor H, Jonas J, et al. Causes of blindness and vision impairment in 2020 and trends over 30 years, and prevalence of avoidable blindness in relation to VISION 2020: the Right to Sight: an analysis for the Global Burden of Disease Study. Lancet Global Health 2021 Feb; 9(2): e144-e160.

Polack S, Kuper H, Wadud Z, Fletcher A, Foster A. (2008). Quality of life and Visual impairment from cataract in Satkhira district, Bangladesh. Br J Ophthalmol 2008; 92(8): 1026-30.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ: ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Thurston M, Thurston A, McLeod J. Socio emotional effects of the transition from sight to blindness. The British Journal of Visual Impairment 2010; 28: 90–112.

Wiles JL, Allen RES, Palmer AJ, Hayman KJ, Keeling S, Kerse N. Older people and their social spaces: A study of well-being and attachment to place in Aotearoa New Zealand. Social Science & Medicine 2009; 68(4): 664–71.

ดุษฏี เอกพจน์, พิทยา สัจจารักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561; 32(1): 919-26.

เรวดี ศรีสุข, เครือวัลย์ อินทขันตรา. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุภายหลังการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2563; 21(2): 65-76.

ไพรัตน์ สวมขุนทด, วรรณี เดียวอิศเรศ, จินตนา วัชรสินธุ์. ความต้องการและการได้รับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกครอบครัวระยะรอผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(1): 29-39.

สถิติหน่วยงานแผนก หู คอ ตา จมูก โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี พ.ศ. 2561. อุดรธานี: โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี; 2561.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health Promotion in Nursing Practice. 7th ed. NY: Pearson; 2015.

กษมา นาคกระแสร์, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2562; 33(1): 40-54.

ปัทมา ผาติภัทรกุล, ผุสดี ก่อเจดีย์, พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ศิริธร ยิงเรงเริง, ชุติมา บูรพา, ประภาส จักรพล. ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของผ้สููงอายุในชุมชน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 12(ฉบับพิเศษ): 52-60.

สุวรรณา ดีแสน. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลป่าหุ่งอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย; 2549.

เพชรรัตน์ กิจสนาโยธิ. ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14(2): 103-13.

วิรดา อรรถเมธากุล, วรรณี ศรีวิลัย. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556; 7(2): 18-28.

ชมพูนุท สิริพรหมภัทร, กิรณา แต้อารักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทนและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 12(2): 97-106.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02