การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ภูมิเวียงศรี
  • นฤมล สินสุพรรณ
  • อำนาจ ชนะวงษ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, อย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น  2) ศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยศึกษาในพื้นที่หมู่บ้านต้นแบบสินค้าไม่ปลอดภัย ผัก ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปนเปื้อนสารเคมี อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 157 คน ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง จำนวน 124 คน และกลุ่มภาคีเครือข่ายและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสนทนากลุ่ม  ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ หมวดความรู้ ด้วยวิธี KR-20 หมวดการปฏิบัติและการมีส่วนร่วมด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Paired t-test  ผลการศึกษา 1) การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีกระบวนการพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะวางแผน  ระยะดำเนินการตามแผน  ระยะติดตามผล  และระยะการคืนข้อมูล โดยใช้เทคนิคกระบวนการ AIC 2) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่า หลังได้รับการพัฒนาในประชากรกลุ่มตัวอย่าง มีระดับความรู้ รวมทั้งการปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) เปรียบเทียบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส โดยกระดาษทดสอบพิเศษ ในกลุ่มตัวอย่างก่อนได้รับการพัฒนา อยู่ในระดับ“มีความเสี่ยง”และ“ไม่ปลอดภัย” ร้อยละ 100 และหลังได้รับการพัฒนา พบระดับ “มีความเสี่ยง”และ“ไม่ปลอดภัย” ร้อยละ45.17 ดังนั้น การจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเกิดความยั่งยืนได้  จะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ สนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินการจัดการปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อไป

 

References

จันทร์ฉาย ทองเพ็ญ และคณะ. (2561). รูปแบบการดูแลสุขภาพเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารกองการพยาบาล. 45(2) : 69-81, 2561.

ณฐมน ภูพวก. (2560). การพัฒนารูปแบบการลด ละ เลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านแดงหม้อ ตำบลแดงหม้อ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารอาหารและยา, 2560 (ฉบับเดือนกันยายน-ธันวาคม), 49-58.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีการจัดศัตรูพืชในการปลูก หอมแดงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทและวิถีชีวิตของชุมชน: กรณีศึกษา ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ, มปท., 543-553.

สมศักดิ์ ยุบลพันธ์ และคณะ. (2561). รูปแบบการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนระบบสุขภาพภาคประชา

สังคมเพื่อแก้ไขปัญหาสารเคมีการเกษตร อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.). (2561). คู่มือการใช้เกณฑ์ของการจัดลำดับความสำคัญสินค้าไม่ปลอดภัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30