ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ในโรงพยาบาลชุมชน

ผู้แต่ง

  • ปรัตดา ศรีสมบัติ

คำสำคัญ:

ยาทีโนโฟเวียร์, การทำงานของไตผิดปกติ, เอชไอวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลังเพื่อทราบถึงความชุกและปัจจัยเสี่ยงการทำงานของไตผิดปกติจากยาทีโนโฟเวียร์   เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2562 ประเมินการทำงานของไตผิดปกติจาก Estimated Glomerular Filtration Rate (eGFR) หรือ Creatinine Clearance (CrCl) ลดลงอย่างรวดเร็วมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ml/min/1.73 m2 จากค่าเริ่มต้น ร่วมกับการทำงานของท่อไตส่วนต้นที่ผิดปกติ (Proximal Tubular Dysfunction) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Multivariate Logistic Regression  ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด  167 ราย  อายุเฉลี่ย  46.05±10.06 ปี เมื่อพิจารณาการลดลงของ eGFR อย่างรวดเร็ว ร่วมกับ Proximal Tubular Dysfunction พบความชุกของการทำงานของไตผิดปกติ เดือนที่ 6, 12, 18, 24 ร้อยละ  22.75, 16.03, 18.84 และ 14.56 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงการทำงานของไตผิดปกติ ได้แก่ อายุมากกว่า 50 ปี และเมื่อพิจารณาการลดลงของ CrCl อย่างรวดเร็ว ร่วมกับ Proximal Tubular Dysfunction พบความชุกของการทำงานของไตผิดปกติ  เดือนที่ 6, 12, 18, 24 ร้อยละ 8.98, 18.59, 16.55 และ 13.59 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงการทำงานของไตผิดปกติ  ได้แก่ การใช้ยา Cotrimoxazole prophylaxis ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 kg/m2 เพศหญิง

 

 

References

1.สำนักโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2560.
2.จุฑารัตน์ ศศิวชิรางกูล. Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) และTenofovir Alafenamide Fumarate (TAF). วารสารเพื่อการวิจัยเเละพัฒนาองค์การเภสัชกรรม. 2561;25(1):25-6.
3.วิศิษฎ์ ตันหยง, พีรยศ ภมรศิลปะธรรม, ฉัตชัย ฉิ่นไพศาล. ทีโนโฟเวียร์และพิษต่อไตระดับเซลล์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2560;22(2):248-59.
4.ศิริวิทย์ อัสวัฒิวงศ์. ยาทีโนโฟเวียร์และความเสี่ยงต่อการทำงานของไตบกพร่องในผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลกระบี่. Krabi Medical Journal. 2560;1:35-43.
5.Horberg M, Tang B, Towner W, Silverberg M, Bersoff-Matcha S, Hurley L. Impact of tenofovir on renal function in HIV-infected, antiretroviral-naive patients. JAIDS Journal of Acquired Immune Deficiency Syndromes. 2010;53(1):62-9.
6.Scherzer R, Estrella M, Yongmei L, Deeks SG, Grunfeld C, Shlipak MG. Association of tenofovir exposure with kidney disease risk in HIV infection. AIDS (London, England). 2012;26(7):867.
7.Agbaji OO, Abah IO, Ebonyi AO, Gimba ZM, Abene EE, Gomerep SS, et al. Long Term Exposure to Tenofovir Disoproxil Fumarate-Containing Antiretroviral Therapy Is Associated with Renal Impairment in an African Cohort of HIV-Infected Adults. Journal of the International Association of Providers of AIDS Care (JIAPAC). 2019;18:23-63.
8.Chadwick DR, Sarfo FS, Kirk ESM, Owusu D, Bedu-Addo G, Parris V. Tenofovir is associated with increased tubular proteinuria and asymptomatic renal tubular dysfunction in Ghana. BMC Nephrology. 2015;16(1):195.
9.เกศรินทร์ ชัยศิริ. ความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ยาทีโนโฟเวียร์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2552.
10.ประภาพร เป็งธินา. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา Tenofovir disoproxil fumarate (TDF) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
11.Yazie TS, Orjino TA, Degu WA. Reduced kidney function in tenofovir disoproxil fumarate based regimen and associated factors: a hospital based prospective observational study in Ethiopian patients. International Journal of Nephrology. 2019;20(9):36-40.
12.Kumarasamy N, Sundaram S, Poongulali S, Ezhilarasi C, Pradeep A, Chitra D. Prevalence and factors associated with renal dysfunction in patients on tenofovir disoproxil fumarate-based antiretroviral regimens for HIV infection in Southern India. Journal of virus eradication. 2018;4(1):37-9.
13.Naughton CA. Drug-induced nephrotoxicity. American family physician. 2008;78(6):55-60.
14.Pazhayattil GS, Shirali AC. Drug-induced impairment of renal function. International journal of nephrology and renovascular disease. 2014;7:457.
15.บุญธรรม จิระจันทร์. drug-induced nephrotoxicity: Electronic library; [cited 2019 July 8]. Available from: http://www.elib-online.com/physicians/drugs/drug_induce_nephropathies.pdf.
16.Kalowski S, Mathew T, Singh Nanra R, Kincaid-Smith P. DETERIORATION IN RENAL FUNCTION IN ASSOCIATION WITH CO-TRIMOXAZOLE THERAPY. The Lancet. 1973;301(7800):394-7.
17.Bailey RR, Little PJ. Deterioration in renal function in association with co-trimoxazole therapy. The Medical journal of Australia. 1976;1(24):914, 6.
18.Rosenfeld JB, Najenson T, Grosswater Z. Effect of long‐term co‐trimoxazole therapy on renal function. Medical Journal of Australia. 1975;2(14):546-8.
19.World Health Organization (WHO). Clinical Guidelines 2016 : Antiretroviral Therapy 2016 [cited 2020 November 20]. Available from: https://www.who.int/hiv/pub/arv/arv-2016/en/.
20.Department of Health and Human Services (DHHS). Guidelines for the use of antiretroviral agents in adults and adolescents living with HIV 2017 [cited 2020 November 20]. Available from: https://aidsinfo.nih.gov/guidelines/html/1/adult-and-adolescent-arv/0.
21.European AIDS Clinical Society (EACS) Guidelines for the management of people living with HIV (PLWH) in Europe Version 10.01 October 2020 2020 [cited 2020 November 20]. Available from: https://www.eacsociety.org/files/guidelines-10.1_5.pdf.
22.กองโรคเอดส์วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยปี 2563. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31