ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมุกดาหาร
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ประสิทธิภาพบริหารการเงินการคลัง, ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดมุกดาหาร เป็นการศึกษาในประชากร ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาล จำนวน 82 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ตารางวิเคราะห์วิกฤติการเงิน และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการทดสอบคุณภาพเครื่องมือ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.933 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Correlation
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.9 อายุระหว่าง 40-49 ปีมากที่สุด ร้อยละ 35.4 อายุราชการ มากกว่า 15 ปีมากที่สุดคือ ร้อยละ 61.0 ระยะเวลามากที่สุดที่ทำงานในโรงพยาบาลคือมากกว่า 15 ปี ร้อยละ 46.3 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพมากที่สุด ร้อยละ 26.8 หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างานมากที่สุด ร้อยละ 56.1 การศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มากที่สุด ร้อยละ 75.6 สถานะคู่มากที่สุด ร้อยละ 70.7 พบว่าโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งไม่มีวิกฤติทางด้านการเงิน การรับรู้ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง จากตัวชี้วัดทางการเงินทั้ง 6 ตัว อยู่ในระดับมาก ปัจจัยองค์กร ด้านกลยุทธ์ ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านระบบปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร ด้านทักษะความรู้ความสามารถ ค่านิยมร่วมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังระดับต่ำ ได้แก่ปัจจัยด้านกลยุทธ์ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร ปัจจัยด้านระบบปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านบุคลากร และมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางได้แก่ ปัจจัยด้านค่านิยมร่วม ผู้บริหารควรรักษาการสนับสนุนตามนโยบายเพื่อรักษาสถานการณ์ด้านการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนให้ยั่งยืนและศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการบริหารการเงินการคลัง
References
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกัน & สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ หลักเกณฑ์และแนวทางการ เบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ปีงบประมาณ 2562. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารรสุข; 2562.
งานแผนงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. รายงานประจำปี การบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ 2562. มุกดาหาร: งานแผนงานและประเมินผล; 2562.
จงศักดิ์ รักศรี. ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.
ชุมพล นุชผ่อง, สมอาจ วงษ์ขมทอง, จันทร์จิรา วงศ์ขมทองและเนตรชนก ศรีทุมมา. กลยุทธ์การเงินของผู้บริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลอุตรดิตถ์: 9 (1); 1–11, 2560.
วาสนา จังพานิช.ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาล. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล: 3(1); 97–111, 2561.
ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยและคณะ. การบริหารการเงินการคลังโรงพยาบาลรัฐ การกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณคลินิกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2544.
สุธาดาศิริกิจจารักษ์. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา: 5(2); 17–34, 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น