ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา ถาบุญเรือง

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, พนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป โรงพยาบาลหนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จำแนกตามเพศ  อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระยะเวลาในการทำงานการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป โรงพยาบาลหนองบัวลำภู  จำนวน  203  คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยผู้วิจัยได้นำสูตร Yamanae (1973) มากำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป     ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหนองบัวลำภูทั้งสิ้น จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูลคือแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1)ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง2)จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการทำงานไม่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป  มีเพียงปัจจัยด้านอายุเท่านั้นที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะ

จากผลการวิจัย พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุขทั่วไป ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านความเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด   รองลงมาคือด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านการบูรณาการทางสังคม หรือทำงานร่วมกัน  ด้านลักษณะงานการทำงานหรือประชาธิปไตย ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตกับการ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกลักษณะและปลอดภัย และด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอตามลำดับ ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารโรงพยาบาลควรใส่ใจช่องว่างระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยเริ่มจากผู้บริหารสูงสุด เช่น การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทั้งเรื่องงานและไม่ใช่เรื่องงาน ทำให้พนักงานมีความรู้สึกเท่าเทียมกัน สามารถแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในงานนั้นๆควรเพิ่มพูนความรู้ต่างๆ เช่น การจัดสัมมนา ฝึกอบรม ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานให้กับพนักงานกระทรวงทั่วไป และควรสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมให้พนักงานสามารถทำงานอย่างมุ่งมั่น และมีการปฏิบัติระหว่างผู้ร่วมงานด้วยกันอย่างเสมอภาค

 

References

จิตราวรรณ ถาวรวงศ์สกุล. (2554). ปัจจัยกระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

ของพนักงานระดับ 2-7 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่.วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปวันรัตน์ ตนานนท์. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาลยุติธรรมในจังหวัดเชียงใหม่.

การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย เชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ผุสดี เบญจกุล. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานกลาง การไฟฟ้าฝ่ายผลิต

แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการจัดการ

นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มงคล ลาวรรณา. (2551). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ลัดดาวัณย์ สกุลสุข. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงาร ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพ

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขา

ประศาสนศาสตร์กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

สุกิจ เฮ็งเจริญ. (2551). คุณภาพในการทำงานของนายทหารชั้นประทวนกองพันทหารม้าในกองพลทหาร

ราบที่ 2 รักษาพระองค์. ปัญหาพิเศษ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารทั่วไป

วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ ชลบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา.

แสง ไชยสุวรรณ. (2551). คุณภาพการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ หมา

วิทยาลัยเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา

และการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรถพล เปี่ยมศิริ. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท

ไปรษณีย์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต(การจัดการทั่วไป) คณะ

บริหารธุรกิจ ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01