การเปรียบเทียบผลของการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคมในการป้องกันการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรกร วิชัยโย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ศรัญญา ปัตจิตย์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สุดารัตน์ พลนาคู มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ปริญญาภรณ์ จำเริญเจือ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การเรียนรู้ปัญญาสังคม

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลของการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาสังคมในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 40 คน ใช้โปรแกรมในให้ความรู้ ทัศนคติ และการเรียนรู้ปัญญาสังคมในการป้องกันการตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างการศึกษาครั้งนี้คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทดสอบสมมุติฐานค่าเฉลี่ย2กลุ่มอิสระ ต่อกัน และใช้เกณฑ์คัดเลือกตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จาก 6 โรงเรียน แล้วสุ่มเลือกโรงเรียน ห้องเรียนมาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ก่อนและหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติทดสอบ Paired samples t-test และ Independent  samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

                ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ภายในกลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลองมีค่าเท่ากับ 7.32 (S.D.=3.62), 10.35 (S.D.=2.79) ตามลำดับ และหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เท่ากับ 10.35 (S.D.=2.79), 8.60 (S.D.=4.25) ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <0.001 และ p= 0.026) ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศคติภายในกลุ่มทดลองระหว่าง ก่อนและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ เท่ากับ 3.41(S.D.=0.46), 3.62 (S.D.=0.37) ตามลำดับ และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ 3.62 (S.D.=0.37), 2.75 (S.D.=0.62) ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p =0.018 และ p<0.001) ตามลำดับ กลุ่มทดลอง ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนรู้ปัญญาสังคม เท่ากับ 3.69 (S.D.=0.62), 3.83 (S.D.=0.54) ตามลำดับ และหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนรู้ปัญญาสังคม เท่ากับ 3.83 (S.D.=0.54), 2.75 (S.D.=0.62) ตามลำดับ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการเรียนรู้ปัญญาสังคม ภายในกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.335) และระหว่างกลุ่มการเรียนรู้ปัญญาสังคม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001)

References

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. รายงานประจำปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/webupload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/202101/m_news/32053/200929/file_download/5499b750564075b590cc442f64caae41.pdf

ไบเออร์ไทย. รณรงค์สังคมไทย หยุดท้องไม่พร้อมในวันคุมกำเนิดโลก 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bayer.com/th/th/thailand-bayer-thai-join-the-campaign-to-prevent-unintended-pregnancies

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ จังหวัดกาฬสินธุ์ (Health Center Information System Kalasin). กลุ่มรายงานมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 17 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdc2.kalasin.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น การตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ภาพรวมเขตสุขภาพที่ 7 รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 21 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kkpho.go.th/i/index.php/component/attachments/download/6052

นาตยา แก้วพิภพ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการรับรู้ความสามารถ ตนเองเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์.[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2562.

พัชนียา เชียงตา และคณะ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาวะทางเพศเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เขตเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2561;34(2):101-111.

สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล. ผลการจัดชุดกิจกรรมต่อทัศนคติ การคล้อยตามอิทธิพลคนรอบข้าง การรับรู้การควบคุมตนเอง และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขใต้. 2563;7(1):215-226.

วาสนา รัตนสีหภูมิ. การพัฒนาโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองโดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาสังคมเพื่อเสริมสร้างเจตคติทางลบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนตน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.

นิตยา ศรไชย, สุภาพร ใจการุณ และกุลชญา ลอยหา. โปรแกรมสุขศึกษาในการสร้างเสริมทักษะชีวิตร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม เพื่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในโรงเรียนชีทวนวิทยาสามัคคี ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 2563;5(3):165-177.

ชลลดา ไชยกุลวัฒนา, อิชยา มอญแสง และพัชรินทร์ ไชยบาล. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนวัยรุ่น จังหวัดพะเยา. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2562;25(3):340-353.

จิราพร อุดมกิจพิพัฒน์ นุจเรศ โสภา และรุจิลดา เศาจวุฒิพงศ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอานาจต่อความรู้ในการดูแลตนเองและทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2561;1(1):35-45.

ภาสิต ศิริเทศ, บุญตา กลิ่นมาลี, ธิติพร สุวรรณ และอำภา ธีทัต ศรีมงคล 2559. ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นตอนต้นเพื่อตอบสนองพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2562;5(2):165-177.

จุติมาศ เม่งช่วย. 2561. ผลของโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกระบี่. สูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

เอ็มวิกา แสงชาติ .(2559). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook)ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สำหรับนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น,คณะสาธารณสุขศาสตร์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01