สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
คำสำคัญ:
ร้านจำหน่ายอาหาร, ชุดตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรียอย่างง่าย, สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหาร, ผู้สัมผัสอาหารจุลินทรีย์, พฤติกรรมผู้สัมผัสอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ ร้านจำหน่ายอาหารจำนวน 65 ร้าน และผู้สัมผัสอาหาร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจสภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายอาหารและชุดทดสอบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในตัวอย่างอาหารปรุงสุกพร้อมบริโภค ภาชนะอุปกรณ์ และมือผู้สัมผัสอาหารด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (SI-2) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ไม่พบร้านจำหน่ายอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยประเด็นที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 84.60 คือ การวางช้อน ตะเกียบ ไม่ถูกต้อง และวางภาชนะอุปกรณ์สูงจากพื้นน้อยกว่า 60 ซม. ด้านพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องร้านจำหน่ายอาหารมีการปฏิบัติถูกต้องน้อยที่สุด คือ มีอาคารตั้งอยู่ใกล้สถานที่ที่มีสาธารณูปโภคบริการอย่างครบถ้วนจะทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด ร้อยละ 12.30 มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในมือผู้สัมผัสอาหารไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 53.79 (95% CI 1.85-2.17) การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในภาชนะอุปกรณ์ไม่ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 39.23 (95% CI 2.25-2.88) และการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 22.05 (95% CI 3.92-5.22)
ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการกำกับดูแล ให้ความรู้ และฝึกอบรมเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค
References
สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคอุจาระร่วง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2560. [เข้าถึง 10 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2019/
-1018.pdf
สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคอุจาระร่วง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึง 10 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/ boedb/surdata/index.php
สำนักระบาดวิทยา. สถานการณ์โรคอุจจาระร่วงประเทศไทย ณ วันที่ 9 กันยายน 2562 [ออนไลน์]. 2562. [เข้าถึง 10 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/doe/news.php?news=9361&deptcode=doe
ประภาส ผูกดวง, เวสารัช วรุตมะพงศ์พันธ์. การสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษจากเชื่อ Bacillus cereus/Heromonas nutrophila/Aeromonas caviae และAeromonas veroni biovar sobria
ในอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 11(1): 182-191.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สถานการณ์โรคอุจจาระร่วง จังหวัดนครพนม ปี 2560, 2561 และ 2562 [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึง 10 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://odpc8.ddc.moph.go.th/upload.pdf
ดารณี แก้วจุมพล. ปัจจัยที่มีผลต่อการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของอาหารถุงที่วางจำหน่ายในตลาดสดประเภทที่ 1: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดหนองคาย. ขอนแก่น; ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.
ธีรดา ป้องสีดา, ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม. สภาวะสุขาภิบาลอาหารของร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวในเขตตำบลคำป่าหลาย อำเภอเมืองจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2562; 12(1): 22-31.
เสาวนิตย์ บุณพัฒนศักดิ, กมลรัตน์ ศิริโยธา. แบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษในเขตสุขภาพที่ 2 ระหว่างปีงบประมาณ 2556-2560. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค. 2562; 6(1): 1-15.
พุทธจักร ช่วยราย. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารในร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารเขตอำเภอชะเมา จังหวัดระยอง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและ
การสาธารณสุขภาคใต้. 2558; 2(3): 41-61.
ภัทราพร จุลราช, มาริษา ภูภิญโญกุล, อบเชย วงศ์ทอง. การสุขาภิบาลร้านอาหารหวานและเครื่องดื่มและสิ่งแวดล้อมของโรงอาหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่นฉบับบัณฑิตศึกษา. 2550; 7(4):91-96.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อกำหนดสุขาภิบาลร้านอาหาร [ออนไลน์]. 2556. [เข้าถึง
ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.phpfilename.resturant
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กระทรวงสาธารณสุข. ผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร[ออนไลน์]. 2557. [เข้าถึง 14 ธันวาคม 2563]. เข้าถึงได้จากhttp://foodsan.anamai.moph.go.th/Handbook
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น