ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จารุเพ็ญ ภูจอมจิตร โรงพยาบาลสมเด็จ, จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพตนเอง, ปัจจัย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ และ เพื่อศึกษาปัจจัยการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จ ตำบลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 535 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยการใช้ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ รายได้ ภาวะสุขภาพ และ การได้รับคำแนะนำ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 4) ปัจจัยการดูแลสุขภาพด้านออกกำลังกายและการดูแลทำความสะอาดฟัน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านอาหาร ด้านอารมณ์ ด้านการไม่สูบบุหรี่ ด้านการไม่ดื่มสุรา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรผู้สูงอายุไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/ sites/2014/ Pages/News/2561/N08-02-61-1.aspx

อินทุกานต์ กุลไวย. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแข็งอดทนและการสนับสนุนทางสังคมกับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/ SearchDetail/262813

Orem, D.E. Nursing: concept of practice. 2ed. McGraw-Hill: New York; 1980.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ประชากรทะเบียนราษฎร์จังหวัดกาฬสินธุ์ 31 ธ.ค. 2563. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/home.php

สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์. สถานการณ์และการดำเนินงานผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2560. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 27 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.Kalasin.go.th/official website/2013.

โรงพยาบาลสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. ฐานข้อมูลระบบ Hos Xp โรงพยาบาลสมเด็จ. กาฬสินธุ์:โรงพยาบาลสมเด็จ; 2563.

Hisieh, F.Y., Bloch, D.A., & Larsen, M.D. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Statistics in medicine 1998; 17(14); 1623-1634.Best, J. Research in Education (4th ed). London: Prentice-Hall International; 1981.9..Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika; 1951; 16(3); 297-334.

สำนักพัฒนาการพลศึกษาสุขภาพนันทนาการ กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; 2557.

จิรายุส ดุลยเกียรติ. การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563; 29(5): 783-789.

เกษม ตันติผลาชีวะ, กุลยา ตันติผลาชีวะ. การรักษาสุขภาพในวัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2528.

ประภาพร มโนรัตน์, กฤษณะ คำฟอง, วรพล แวงนอก, พรฤดี นิธิรัตน์. การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไทยพุทธในชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท : กรณีศึกษาบ้านนาโปร่ง ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2559; 8(2): 96-111.

ศิริสุข นาคะเสนีย์. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี 2561; 12(1): 39-48.

วราภรณ์ ชาติพหล, นฤมล เวชจักรเวร, เบญญา หมื่นไธสง, นิรชา น้ำกระโทก, ณัฐริกา เรียงจอหอ. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุตามหลัก 3อ. 2ส. ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สคธ 2564; 27(2): 71-79.

Bloom, B. Taxonomy of educational objectives, Handbook 1 Cognitive domain. New York: David McKay; 1956.

อรวรรณ แสนบริสุทธิ์, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของผู้สูงอายุในตำบลคำใหญ่ อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563; 13(2): 14-25.

สุขประเสริฐ ทับสี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2563; 3(1): 14-30.

Pender. N.J. Health Promotion in Nursing Practice. Connecticut: Appleton-Century-Crofts, Norwalk; 1982.

พงศธร ศิลาเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในจังหวัดพะเยา. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03