แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ขึ้นฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • รณชัย คนบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • อัครเดช ดีอ้อม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยแบบผสานวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและหาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 โดยใช้กรอบแนวคิดการวิจัยของ Bloom (1982) ศึกษาในนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 31 คน ตอบแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.87 และค่าความเที่ยง 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Content analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านจิตพิสัยว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านคุณภาพการสอน และด้านทักษะพิสัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31, 4.29, 4.27  และ 4.18 (SD = .65, .56, .74 และ .63) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ฝึกในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และสติปัญญาของผู้เรียน การส่งเสริมความสนใจและสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้เรียน การพัฒนาทักษะด้านการเรียนของผู้เรียน และการปรับปรุงรายวิชาให้มีประสิทธิภาพ

References

โพยม จันทร์น้อย. การศึกษา 4.0 [อินเทอร์เน็ต]. พัทลุงสามัคคี ครั้งที่ 57; 2560.

คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา. บทที่ 1 การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา CUPT

QA; 2559.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.kriengsak.com/node/1170.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw –Hill Book; 1982.

รณชัย คนบุญ, กัลยา ปังประเสริฐ, วันวิสาข์ ศิริวาท และจุฑามาศ นาไชยภูมิ. แนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย 2563;10(1):147-155.

กาญจนา เลิศถาวรธรรม, กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ และอรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2557;7(4):13-24.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, สมพร รักความสุข, จิดาภา เรือนใจมั่น, จิตรา สุขเจริญ และธัญญมล สุริยานิมิตสุข. สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;26(2):128-141.

ลดาพร ทองสง และถนิมพร พงศานานุรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์ 2556; 20(1):55-71.

รุ่งฤดี กล้าหาญ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาคปฏิบัติของนิสิตพยาบาล ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):412-420.

นรากร พลหาญ และสมสมร เรืองวรบูรณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555;31(5):33-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31