ประสิทธิผลของไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผีในการลดภาวะสิวอักเสบ

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ จิตต์สมนึก สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดวงพร นะคาพันธุ์ชัย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สารสกัดผักเสี้ยนผี, ไฮโดรเจล

บทคัดย่อ

สิวคือการอักเสบของรูขุมขนและต่อมไขมัน เป็นหนึ่งในภาวะผิดปกติทางผิวหนังซึ่งสามารถเกิดกับทุกเพศทุกวัย ส่งผลกระทบกับรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งมีผลต่อบุคลิกภาพและจิตใจ ในปัจจุบันผู้มีภาวะสิวอักเสบนิยมซื้อยามารักษาด้วยตนเอง อย่างไม่เหมาะสม มีผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาสิวลดลง และอาจมีผลข้างเคียง คือ การดื้อยาและภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้น การเลือกใช้สารธรรมชาติจากสมุนไพร เช่น ผักเสี้ยนผี ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพได้ เช่น Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus เพื่อลดการอักเสบของสิว จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยจากผลข้างเคียงดังกล่าว โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผีในการลดภาวะการอักเสบของสิว และเพื่อนำองค์ความรู้นี้ ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รักษาสิวและลดภาวะผิวหนังอักเสบต่อไป โครงการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะสิวอักเสบ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสิวที่ได้รับการทาไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผีและกลุ่มสิวที่ไม่ได้รับการทา ในอาสาสมัครสุขภาพดี เพศชายหรือหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน  โดยวัด ขนาด ความบวม และความแดงของสิว ก่อนทาไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผี และหลังทาที่เวลา 1, 2 และ 72 ชั่วโมง จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา และใช้สถิติ Paired T-Test เพื่อเปรียบเทียบการลดลงของภาวะสิวอักเสบของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่ากลุ่มสิวที่ได้รับการทาไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผี มีภาวะสิวอักเสบลดลงเร็วว่ากลุ่มสิวที่ไม่ได้รับการทา โดยมีภาวะสิวอักเสบลดลงที่ 72 ชั่วโมง เท่ากับ -99.33±3.65, -19.77±8.39 และ -7.34±3.66% ในด้านขนาด ความบวม และความแดง ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับการทาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และมีประสิทธิผลในการลดภาวะสิวอักเสบเท่ากับ -54.82±17.92, -9.24±9.35 และ -6.67±4.20% ในด้านขนาด ความบวม และความแดง ตามลำดับ สรุปได้ว่าไฮโดรเจลผสมสารสกัดผักเสี้ยนผีสามารถลดภาวะสิวอักเสบได้อย่างมีประสิทธิผลและมีความปลอดภัย ควรมีการศึกษาและพัฒนาต่อไป

                

References

Tasoula E., Gregoriou S., Chalikias J., et al. The impact of acne vulgaris on quality of life and psychic heallth in young adolescents in Greece. Results of a population survey. Anais Brasileiros de Dermatologia. 2012;87(6):862-869.

Hsieh M. F., Chen C. H. Review: delivery pf pharmaceutical agents to treat acne vulgaris: current status and perspe4ctive. Journal of Medical and Biological Engineering. 2011;(4):215-224.

Patil V., Bandivadekar A., Debjani D. Inhibition of Propionibacterium acnes lipase by extracts of Indian medicinal plants International. Journal of Cosmetic Science. 2012;31:234-239.

Zaenglein, A. L., Graber, E. M., Thiboutot, D. M., et al. Acne vulgaris and acneiform eruptions. In k. Wolff, L. A. Goldsmith, S. I. Kat, B. A. Gichrest, A. S. Paller, et al. (Ends.), Fitzpatrick's Dermatology in General Medicine. (7 ed., pp. 690-703). New York: McGraw-Hill; 2006.

Goodman, G. (2006). Acne and acne scarring: the case for active and early intervention. Australian Family Physician. 2006;35(7):503.

Kanlayavattanankul, M., Lourith, N. Therapeutic agents and herbs in topical application for acne treatment. International Journal of Cosmetic Science. 2011;33(4):289-297.

Gollnick, H., Krautheim, A. Topical Treatment in Acne: Current Status and Future Aspects. Dermatology. 2003;206(1):29-36.

Chomnawang, M. T., Surassmo, S., Nukoolkarn, V. S., et al. Antimicrobial effects of Thai medicinal plants against acne-inducing bacteria. Journal of ethnopharmacology. 2005;101(1-3):330-333.

Phaya Pissanuprasartwet. Medical work: Wisdom of National medical and literary heritage. Bangkok; 2008. (in Thai)

Williams, L. A., Vasques, E., Reid, W., Porter, R., et al. Biological activities of an extract from Cleome viscosa L. (Capparaceae). Naturwissenschaften. 2003;90(10):468-472.

Sudhakar, M., Rao, C. V., Rao, P., et al. Evaluation of antimicrobial activity of Cleome viscosa and Gmelina asiatica. Fitoterapia. 2006;77(1):47-49.

Luntharima P. Antibacterial agents from Cleome viscosa L. and Gymnema griffithii C. fruits. Master Thesis, Chulalongkorn University. 2010. (in Thai)

Parimaladevi, B., Boominathan, R., Mandal, S. Studies on analgesic activity of Cleome viscosa in mice. Fitoterapia. 2003;74(3):262-266.

Bawankule, D., Chattopadhyay, S., Pal, A., et al. Modulation of inflammatory mediators by coumarinolignoids from Cleome viscosa in female swiss albino mice. Inflammopharmacology. 2008;16(6):272-277.

Upadhyay, A., Chattopadhyay, P., Goyary, D., et al.Topical application of Cleome viscosa increases the expression of basic fibroblast growth factor and type III collagen in rat cutaneous wound. BioMed Research International. 2014.

Singh, S., Semwal, B. C., Neeli, G. S. Microscopic and physicochemical evaluation of leaves of sphaeranthus indicus Linn. Pharmacognosy Journal. 2017;9(1).

Khandiza Khanam, K., Begum, M., Islam, A., et al. Studies on atioxidant, analgesic anti-inflammatory and CNS depressant activities of the plant Cleome viscosa Linn. International Journal of Innovative Pharmaceutical Sciences and Research. 2015;3(1):12-28.

Mali, R. G. Cleome viscosa (wild mustard): A review on ethnobotany, phytochemistry, and pharmacology. Journal of Pharmaceutical Biology. 2010;48(1):105-112.

Panduraju, T., Parvathi, B., Rammohan, M., et al. Wound healing properties of Cleome viscosa Linn. Hygeia: Journal for Drugs and Medicines 2011;3(1):41-45.

Ansel H. C., Allen L. V., Popovich N.G. Oiniments, creams and gels. Philadephia: Williams & Wilkins; 1999.

Miettinen, M., Mönkkönen, J., Lahtinen, M. R., et al. Measurement of oedema in irritant-exposed skin by a dielectric technique, Skin Research & Technology 2006;12(4):235-240

Srinuan, K., Chinsoi, P. Anti-Inflammatory activity of medicial plant preparation. A Specail Project. Faculty of Pharmacy. Mahidol University. 2001.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-22