การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ในสาระการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ
คำสำคัญ:
การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในสาระการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ กระบวนการวิจัยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา 2) ออกแบบรูปแบบ 3) พัฒนารูปแบบ 4) ทดลองปรับปรุงพัฒนา และนำไปใช้ 5) ประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ทั้งหมด 188 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.85 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค 0.96 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.89 และค่า KR-20 เท่ากับ 0.69 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความรู้ก่อนและหลังเรียนใช้สถิติทดสอบที และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านในสาระการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก คือ STAMP model (1) S: Self-paced learning of students (2) T: Teacher Tutors (3) A: Analytical thinking from case study/situation (4) M: Mapping/Concept Mapping (5) P: Participation 2) ผลของการใช้รูปแบบ มีค่าดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผู้เรียนมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.01) 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅=4.02, S.D.=0.53) สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สามารถเพิ่มความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างดี จึงเหมาะกับการเรียนรู้ในยุคดิจิตอลที่ส่งเสริมการเรียนในศตวรรษที่ 21
References
ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์; 2555.
ณมน จีรังสุวรรณ. หลักการออกแบบและการประเมิน Instructional Design and Assessment. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตาราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2558.
Bergmann J, Sams A. Flip your classroom: Reach every student in every class every day. Washington, DC: Eugene, OR International Society for Technology in Education; 2012.
Bell JN. Using Social Stories to improve socially appropriate behaviors in children with Autism. The Florida state University America; 2005.
ปางลีลา บูรพาพิชิตภัย. The Flipped Classroom to Learning and teaching in Thailand. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563, จาก http://www.academai.edu.
กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ:กระทรวงศึกษาธิการ; 2560.
สุมิตตา สว่างทุกข์, สุริศาร์ พานทองชัย, ปฤษดาพร ผลประสาร. ประสบการณ์การสอนด้วยห้องเรียนกลับด้านในการพยาบาลระยะที่ 2 ของการคลอด. วารสารเกื้อการุณย์ 2562; 26(2): 145-155.
ภาณุ อดกลั้น, สกาวเดือน มงคลสุคนธรัก, ปานเพชร สกุลคู. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา 2564; 18(81): 114-124.
Clark D. Instructional System Design-Analysis Phase. Retrieved October 2003, from www.nwlink.com/hrd/sat2.html; 2003.
วสันต์ ศรีหิรัญ. ห้องเรียนกลับด้านกับการคิดวิเคราะห์. วารสารบัณฑิตศึกษา 2560; 14(65): 19-27.
Joyce B, Weil M. Models of teaching. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2009.
สุรเชษฐ์ จันทร์งาม, พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. รูปแบบการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านผสานด้วยความจริงเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 2561; 12(29): 229-240.
ฐานิตา ลิ่มวงศ์, ยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2562; 6(2): 9-17.
มธุรดา บรรจงการ, อัจฉโรบล แสงประเสริฐ, ทมาภรณ์ สุขสรรค์, สกุลรัตน์ ศิริกุล. การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: บทบาทผู้สอน ผู้เรียน และการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 87-92.
จิราจันทร์ คณฑา, พลอยไพลิน มาสุข, กำแพงจินดา, สุดกัญญา ปานเจริญ, ปิ่นแก้ว โชติอำนวย. ผลของการใช้สถานการณ์จำลองในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด ต่อความรู้ ความพึงพอใจ และความมั่นใจในตนเอง และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562; 12(3): 125-137.
วรรษชล พิเชียรวิไล. ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคณาจารย์; 2563.
ศศิธร มุกประดับ, วิภา แซ่เซี้ย, รัดใจ เวชประสิทธิ์, เนตรนภา คู่พันธวี. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางและคุณลักษณะการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561; 38(1): 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น