การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การสะท้อนคิด, ความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพ และประเมินการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ดำเนินงานโดย ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบและพัฒนา ทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไขก่อนเผยแพร่ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพ พบว่า รูปแบบการสอน มีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการเบื้องต้น วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระกระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นตอนการเรียนการสอนเน้นการสะท้อนคิด 7 ขั้นตอน คือ อธิบายเหตุการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้น อธิบายความรู้สึกต่อเหตุการณ์ บอกหลักการที่ช่วยสนับสนุนการกระทำ รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย ลำดับการสะท้อนคิดหรือประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม นำข้อสรุปที่ได้ไปปฏิบัติ และสะท้อนคิดประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับดี และสามารถเสริมสร้างความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลได้ดี 2) ประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดีมาก (M= 4.15, SD=0.70)
การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมานี้จะช่วยทําให้ผู้เรียนได้กล้าแสดงความ คิดเห็นอย่างกว้างขวาง และช่วยให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ; พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สภาการพยาบาล. (2560). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. เข้าถึงเมื่อ 2565 จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Edit(1)
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. การสอนคิดวิจารณญาณ. วารสารราชพฤกษ์ 2561; 16 (3). 1-9.
ดวงใจ เปลี่ยนบำรุง และปาริฉัตร อุทัยพันธ์. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13 (1). 83-93.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา. (2559). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559. ยะลา; วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา.
Armstrong G, Horton-Deutsch S, Sherwood G. (2017). Reflection in clinical contexts: learning collaboration and evaluation. In Horton-Deutsch S, Sherwood GD. (Eds) Reflective Practice: Transforming Education and Improving Outcomes. Indianapolis: Sigma Theta Tau International.
Driscoll, J.J. (2007). Supported reflective learning: the essence of clinical supervision. Practising Clinical Supervision: A Reflective Approach for Healthcare Professionals. 2nd. London: Bailliere Tindall.
Knowles, J. G., Cole, A. L., & Presswood, C. S. (1994). Through preservice teachers' eyes: Exploring field experiences through narrative and inquiry. New York: Merrill.
Johns, Christopher (2000). Becoming a Reflective Practitioner. London: BlackwellScience.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2545). พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545. เข้าถึงเมื่อ 2565 จาก http://nih.dmsc.moph.go.th/law/pdf/031.pdf
วัจนา สุคนธวัฒน์, สิริอร ข้อยุ่น, ศิริวรรณ วงศ์ประกรณ์กุล, และภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลัยด้านในสาระการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 14 (3). 140-151.
ศรีนวล วิวัฒน์คุณูปการ และ วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2548). การเรียนรู้โดยการสะท้อนคิด. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
14. มธุรดา บรรจงการ, อัจฉโรบล แสงประเสริฐ, ทมาภรณ์ สุขสรรค์, และสกุลรัตน์ ศิริกุล. (2562). การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน: บทบาทผู้สอน ผู้เรียน และการเรียนรู้. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562;12 (3). 87-92.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. (2557). คู่มือแนวการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflection) 2557. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น