ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สุรีย์วรรณ สีลาดเลา วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 184 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ One-Way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.26, S.D. = 0.537) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ด้านสุขภาพกายพบว่าผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{X} =3.23, S.D.= 0.491) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม ( gif.latex?\bar{X}=2.94, S.D.=0.694)ด้านสิ่งแวดล้อม ( gif.latex?\bar{X}=3.32, S.D.= 0.526) ด้านจิตใจพบว่าผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =3.55, S.D. =0.522) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีรายได้ สถานภาพ โรคประจำตัว ผู้ให้การดูแลในการทำกิจกรรมประจำวัน จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดไม่แตกต่างกัน สำหรับผู้สูงอายุที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานะในครอบครัว กลุ่มเพื่อนผู้สูงอายุที่ไปมาหาสู่กันเป็นประจำในชุมชนที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา สนอุทา, ชัยธัช จันทร์สมุด, ธันวา ใจเที่ยง.คุณภาพชีวิตและความต้องการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลสงเปลือยอำเภอนามนจังหวัดกาฬสินธุ์.ปี2564.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2564 ;33-39.

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสาร ชุมชนวิจัย, 11(2), 21-38.

โกศล สอดส่อง.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.ปี2561.วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 6(1), 162-175.

ชวนนท์ อิ่มอาบ.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี.ปี2563. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(1), 65-77.

นนทชา ชัยทวิชธานันท์, กมลภพ ยอดบ่อพลับ และ พึงรัก ริยะขัน.การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเมืองเทศบาลเมืองอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.ปี2564. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 236-249.

นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, วิทยา อยู่สุข, สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี และคณะ.ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ส่งผลต่อภาวะเสี่ยงสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ.ปี2562.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562;11-16.

พรทิพย์ ทัพวัฒน์.คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพตามนโยบายของรัฐบาลในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์.ปี2561. วารสารวิจยวิชาการ, 1(3), 37-53.

รุ่งนภา ศรีวิชัยรัตน์. (2558). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป.มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิริยาโพธิ์ขวาง-ยุสท์, อติญาณ์ ศรเกษตริน,จิราพร อุดมกิจพิพัฒน์, จริญญา แก้วสกุลทอง,วัจมัย สุขวนวัฒน์.คุณภาพชีวิตความภาคภูมิใจในตนเองภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตายของผู้สูงอายุใ นจังหวัดสุราษฎร์ธานี.ปี2560.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม 2560;243-435.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-03