ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ ณ หนองคาย เภสัชกรชำนาญการ, โรงพยาบาลศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในการใช้ยา, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

            โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 5 ของประเทศไทย การรักษามีเป้าหมายเพื่อลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดอาการหอบกำเริบในระยะยาว ซึ่งการรักษาจะได้ผลลัพธ์ที่ดีนั้นต้องอาศัยความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความร่วมมือในการใช้ยาและศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย โดยศึกษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทุกราย จำนวน 67 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยมีระดับคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาตั้งแต่ 6-8 คะแนน ร้อยละ 62.70 เพศ ระดับการศึกษา และการรับรู้ความรุนแรงของโรคมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ภาวะซึมเศร้ามีอิทธิพลเชิงลบต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งอธิบายความผันแปรของความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นได้ร้อยละ 46.20อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (R2 = 0.462, p<0.05) 

            ดังนั้น เภสัชกรควรประสานทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อส่งเสริมระดับความร่วมมือในการใช้ยาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข 2562. [อินเตอร์เน็ต] . 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก : https://bps.moph.go.th

กัญญา จันทร์ใจ ธิราภรณ์ จันทร์ดา และอรสา พันธ์ภักดี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรค เอส แอล อี. Rama Nurs Journal 2555;19: 60-71.

ชมพูนุช พัฒนจักร . ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16(3):13-22.

จันทิมา ช่วยชุม และชนกพร จิตปัญญา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยลมชัก : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น . 2557; 5(2): 35-47.

ศศิธร รุ่งสว่าง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2555: 6-23.

อิสรีย์กร สุรศรีสกุล และนรลักษณ์ เอื้อจิตร. ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหลังได้รับการขยายหลอดเลือดโคโรนารี่.วารสารพยาบาลตำรวจ2555;5(1):170-171.

นภารัตน์ อมรพุฒิสภาพร 2564.โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Chronic Obstructive Pulmonary Disease. [อินเตอร์เน็ต] . 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/COPD.pdf.

สุธิศา ทองประสิทธิ์ จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์ และนัยนา หนูนิล. พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่บ้าน อำเภอท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9 : 773-784.

ดารารัตน์ จันทา ดร.สิริมาศ ปิยะวัฒนพงศ์ และดร.สมรภพ บรรหารักษ์. ภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคหืดและถุงลมโป่งพอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://app.gs.kku.ac.th/gs/th/publicationfile/item/20th-ngrc-2019/MMO19/MMO19.pdf

นันทลักษณ์ สถาพรนานนท์. ความไม่ร่วมมือในการใช้ยา (Medication Non Adherence) .วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ .2555 :1-18.

Osterberg, L. & Blaschke, T. (2005).Adherence to medication. New England Journal of Medicine,353 (5), 487- 497.

Becker, M. H.. The health belief model and personal health behavior. Health Education &Behavior. 1974; 1(11) :1-47.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J. & Becker,M. H. . Social learning theory and the health belief model.Health Education & Behavior. 1988;15(2), 175–183.

J Bourbeau and S J Bartlett . Patient adherence in COPD. Thorax. 2008 Sep;63(9):831-8. doi:10.1136/thx.2007.086041.

The Global Initiative for Obstructive Lung Disease (Gold 2021) for COPD Management. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://www.guidelinesinpractice.co.uk/educational-resources/webinars.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02