ผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้า เชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ปี 2563

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์ -
  • จิรภา วิลาวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ยุวดี บุญเนาว์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • พัทรินทร์ บุญเสริม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิต, อ, การป้องกันภาวะซึมเศร้า, สังคมและวัฒนธรรม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรมในกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 33 คน โดยสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรม โดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองและแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม ใช้ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม 12 สัปดาห์ (2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและแบบคุณภาพชีวิต มีค่าความเที่ยง 0.86 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired sample t-test และ independence sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับปานกลางและส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า (2) ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3) คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สรุปได้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและป้องกันภาวะซึมเศร้าเชิงสังคมและวัฒนธรรม สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุได้

References

The United Nations. (2017). World population ageing. Available from: http://www.un.org/en/ development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2017_Highlights.pdf [accessed 2020 10 Mar]

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สถิติผู้สูงอายุไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://service.nso.go.th.

กองแผนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://plan.chpao.org/qrcode/myfileupload /20200214090736.pdf.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

Lok, J. S., & Le Clair, J. K. Psychiatry in the Elderly. Journal of Psychiatry and Neuroscience 2003; 28(5): 376–377.

นริสา วงศ์พนารักษ์และสายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3):24-31.

Lai, D.W., & Surood S. Predictors of depression in aging South Asian, Canadians. Journal of Cross Cultural Gerontolgy 2016; 23:57-75.

นริสา วงศ์พนารักษ์. การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(2):160-165.

บรรลุ ศิริพานิช. คู่มือผู้สูงอายุฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี; 2553.

จุลจีรา จันทะมุงคุณ, ณัฐิกา ราชบุตรและธิติรัตน์ เหล่าคมพฤฒาจารย์. การประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2562; 22(1):14-21.

พิกุล ทับวิธร, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมพัฒนาความสุขร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13(2):590-602.

กรฐณธัช ปัญญาใส, จุฑามาศ กิติศรีและพิชชานาถ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2):65-74.

Bandura, Albert. Social cognitive theory: An agentic perspective. Annu. Rev.Psychol; 2001.

House, Robert J. & Mitchell, Terence R. Path-Goal theory of leadership. Journal of Contemporary Business; 1974: 81-97.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์.กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด; 2553.

พงษ์ศักดิ์ อุบลวรรณี. ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่ออาการซึมเศร้าในผู้สูงวัย. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

Grove, S., Burns, N., & Gray, J. The practice of nursing research: appraisal, synthesis, and generation of evidence (7thed.). St. Louis, MO: Saunders; 2013.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.

Lotrakul M, Sumrithe S, Saipanich R. Reliability and validity of the thai version of the PHQ9. BMC Psychiatry; 2008.

McCarten J, Anderson P et al. Finding dementia in primary care: The results of a clinical demonstration project. J Am Geriatr Soc 2012; 60: 210-217.

Podsiadlo, D., & Richardson, S. The timed up and go: a test of basic functional mobility for frail elderly persons. Journal of the American Geriatrics Society 1991; 39(2): 142-148.

แว่นใจ นาคะสุวรรณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชน.วารสารพยาบาลตำรวจ 2563; 12(1):171-180.

ฉัตรลดา ดีพร้อมและพัชราวรรณ จันทร์เพชร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมพื้นบ้าน V-exercise ต่อสมรรถภาพทางกายระดับน้ำตาลในเลือดและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2563; 43(1): 42-53.

กรฐณธัช ปัญญาใส, จุฑามาศ กิติศรีและพิชชานาถ เงินดี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความต้องการของผู้สูงอายุ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2):65-74.

Ali, S. A., Suhail, N., & Ali, S A. Low self-esteem leads to depression among elderly: Case study of nursing home. Journal of Universal Surgery 2018; 4(2):145-155.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03