การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพ ด้านโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ทิพาพร ราชาไกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ณัฎฐชัย จันทชุม สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
  • ทิพาพร สุจารี คณะคุรุศาสตร์ สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, หลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา และประเมินผล หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ของพยาบาลวิชาชีพด้านโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร ระยะที่ 3 การนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ และระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นหลักสูตรในห้องเรียน จำนวน 18 ชั่วโมง โดยรูปแบบทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ ผลการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ในการฝึกอบรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรม ทั้งสิ้นจำนวน 50 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.00 ช่วงอายุมากที่สุด ระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 48.00 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 94.00 มีค่าเฉลี่ย คะแนน ก่อนการอบรม 7.97 หลังการอบรม 10.90 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนค่าเฉลี่ย ก่อนและหลังการอบรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ P-value < 0.001 ทั้งนี้ ระดับความพึงพอใจมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ค่าเฉลี่ย 3.50 ในทุกด้าน

ควรกำหนดนโยบายในการพัฒนาสมรรถนะบุคคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสนับสนุนการใช้หลักสูตรเพื่อคุณภาพการบริการผู้ป่วย

References

World Health Organization. (2015). World Stroke Campaign. Available from

http://www.world-stroke.org/advacacy/world-stroke-campaign. [Accessed 2021 1 November].

World Stroke Organization. (2012). About world stroke day. Available from

http://www.worldstrokecampaign.org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay2010.aspx. [Accessed 2021 1 November].

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันวันอัมพาตโลก ปี 2564 ให้ประชาชน “รู้สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาทีมีค่าช่วยชีวิต” สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21374&deptcode=brc. [ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2564].

O’Donnell M. J., Xavier D., Liu L., Zhang H., Chin S. L., Rao-Melacini P., et.al. Risk factors for ischemic and intracerebral hemorrhagic stroke in 22 countries (the INTERSTROKE study): A case-control study. Lancet 2010; 376(6735):112-123.

จิราวรรณ ดอกบัวหลวง, พรรณี บัญชรหัตกิจ.ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะแรกที่มารับบริการในโรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560;10(1),548-550.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2562). เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติจังหวัดกาฬสินธุ์ รอบ 2-62. กาฬสินธุ์ : ผู้เขียน.

พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง, และ วรรณภา ศรีธัญรัตน์. การรับรู้และการจัดการอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ2555; 35(3), 48-61.

ตรึงตรา พิ์อามาตร์, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์. การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตพื้นที่ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(3),147-155.

กาญจนศรี สิงห์ภู่, พัชรินทร์ อ้วนไตร, อรกานต์ แสงมีคุณ, และสมศักดิ์ เทียมเก่า. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track) หรือ “072 นาทีทอง”. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554; 107: 610-619.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารการสัมมนา เรื่อง สมรรถนะของข้าราชการ 31 ม.ค. 48. เข้าถึงได้จาก www.ocsc.go.th/ocsccms/competency.pdf. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2563].

วิจิตร ศรีสุพรรณ, กาญจนา จันทร์ไทย. คู่มือปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 2556. จุดทอง.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

American Association of Colleges of Nursing. The Essentials of Master’s Education in Nursing.

Available from: https://www.aacnnursing.org/portals/42/publications/mastersessentials11.pdf

[accessed 2021 15 November].

McGillivray, B., & Considine, J. (2009). Implementation of evidence into practice:

Development of a tool to improve emergency nursing care of acute stroke. Australasian

Emergency Nursing Journal, 12, 110-119. doi: 10.1016/j.aenj.2009.03.005110.

Austin Health. (2008). Stroke nurse practitioner model development. Victorian Nurse

Practitioner Project, 4 (4.2), 1-80.

Power J., Rabinstein A., Ackerson T., Adeoye O. 2018 Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association.Stroke 2018;49:46-99.

บุญชม ศรีสะอาด (2546). การพัฒนาหลักสูตร และการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุวีริยาสาสน์.

Hartoyo, R., & Efendy, H. (2017). Development of training needs analysis in organization. Journal of Management Research, 9(4), 140-159.

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง, ภัทรวรรณ จันทร์เนตร. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา

เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านจอมบึง สาขามนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564: 9(2):103-121.

รัมภา กุณพันธนาภา และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. การพัฒนาหลักสูตรเน้นสมรรถนะการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นการคิดไตร่ตรองสำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร 2560; 19(1):160-170.

วัฒน์ พลอยศรี. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล สำหรับพนักงานใหม่ในโรงพิมพ์พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2563; 4(1): 234-249.

Forster A, Young J, Nixon J, Kalra L, Smithard D, Patel A, et.al. A cluster randomized controlled trial of a structured training program for caregivers of inpatients after stroke (TRACS). International Journal of Stroke 2012 ;( 7):94-99.

สุริยา หล้าก่ำม ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่,อยุทธ์ จินตะรักษ์.การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงในตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560;10(2),282-295.

Seham A., Amany K., El Sayed A., Tag El D. Effect of implement designed educational Training program foe neulogical nurses on clinical outcomes of stroke patients. Clinical Nursing study 2018; 6(4): 121-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03