คุณลักษณะส่วนบุคคล และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
บรรยากาศองค์การ, ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross - Sectional Descriptive Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคล และบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์แห่ง หนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษาคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 828 คน ใช้สูตรการคํานวณขนาดตัวอย่างของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 3 คนใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มอย่างระบบเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแนวทางการ สัมภาษณ์เชิงลึกจํานวน12คน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item Objective Congruence: IOC) มีค่ามากกว่า 50และ วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของ ครอนบาช (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้ค่า 0.96 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563 นําเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานโดยกําหนดนัยสําคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับบรรยากาศองค์การ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.87 (S.D. = 0.56) ระดับความยึดมั่น ผูกพันต่อองค์การอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.86 (S.D. = 0.58) บรรยากาศองค์การมิติมาตรฐานการปฏิบัติงาน มิติความ รับผิดชอบมิติความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมัติโครงสร้างองค์กรและมิติรางวัล มีผลและสามารถร่วมกันพยากรณ์ความยึด มั่นผูกพันต่อองค์การ ได้ร้อยละ 75.1 (R = 0.751, p-value < 0.001) ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มาจากมิติความเสี่ยงในการ ปฏิบัติงาน คือ บุคคลากรในหน่วยงานมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 25.4 และข้อเสนอแนะคือ ความมีการป้องกัน เฝ้าระวังกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นที่ครอบคลุม โดยมีการจัดการและแนวทางปฏิบัติเดียวกันทั้งโรงพยาบาล
References
ชนากานต์ นาพิมพ์, ประจักร บัวผัน และชัญญา อภิปาลกุล (2561) . คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงรูงใจที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ .วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิต), 18(4), 154-166
ชนะพล ศรีฤาชา. (2561). การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านสุขภาพ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
ทองหล่อ เดชไทย. (2549). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิช.
นครินทร์ ประสิทธิ์ และประจักร บัวผัน. (2561). แรงจูงใจและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา .วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(2), 65-77.
นันท์นภัส ปัชชามูล และประจักร บัวผัน. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพนักงานกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 16(2), 61-72.
ศศิธร เฝ้าทรัพย์ และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2560). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล, 28(1), 23-34.
สร้อยทอง กันงา และชนะพล ศรีฤาชา. (2561). คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ .วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11(2), 58-68.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อรรถสิทธิ์ วงศ์กาฬสินธุ์ และชนะพล ศรีฤาชา. (2559). ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทางานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง, 19(2), 77-87.
ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน (2560) แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา),10(1),66-67
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น