การรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ปรีชา สุวรรณทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคาดหวัง, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, COVID-19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน ในสถานการณ์ COVID-19 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็น ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 380 คน เก็บรวบรวมข้อมูลการรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในสถานการณ์ COVID-19 นำมาวิเคราะห์ข้อมูล และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ กับคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง โดยใช้สถิติ Paired t-test 

ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของอสม. ในสถานการณ์ COVID-19 น้อยกว่าความคาดหวัง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ < 0.05 ประชาชนมีการรับรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และมีความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคล
มีส่งผลต่อการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนคือ อาชีพ และระยะทาง

          การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในสถานการณ์ COVID-19 สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในสถานการณ์ COVID-19 ในอนาคต

References

ศูนย์พัฒนาสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), เข้าถึงได้จาก https://www.nakhonphc.go.th/history_asm.php (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563)

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). การจัดระบบ อสม. และภาคประชาชนสำหรับ Local Quarantine และHome Quarantine เข้าถึงจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/km08_120363.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563)

สุพัตรา ศรีชุม. (2560). บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามการรับรู้และความคาดหวังของประชาชน ตำบลเสม็ด จังหวัดชลบุรี, วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. สาขาวิชาสถิติ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม และนิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตสุขภาพที่ 6.(2565).วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 : 257-272.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05