ความสัมพันธ์ของการบริโภคโซเดียมกับระดับความดันโลหิตในประชาชนภาคกลาง
คำสำคัญ:
การบริโภคโซเดียม, ระดับความดันโลหิต, อาหารที่มีโซเดียมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจความสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคโซเดียมกับระดับความดันโลหิตในประชาชนภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตภาคกลาง จำนวน 500 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอนเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามความถี่ในการบริโภคอาหาร แบบบันทึกค่าความดันโลหิต และแบบบันทึกภาวะโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ เพศหญิง ร้อยละ 52.8 อายุเฉลี่ย 46.3 ปี อาศัยอยู่เขตเมือง ร้อยละ 54.2 รายได้ครอบครัว 35,001–50,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 32.8 บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 48.2 บริโภคส้มตำเป็นประจำ ร้อยละ 46.6 การบริโภคโซเดียมสูงสุดเฉลี่ย 4,138.4 (S.D. = 982.5) มิลลิกรัมต่อวัน การบริโภคโซเดียมภาพรวมของภาคกลางมีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น (r = 0.419, 95% CI = 0.372-0.488) การบริโภคโซเดียมเขตบริการสุขภาพที่ 4 มีความสัมพันธ์กับระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น (r = 0.308, 95% CI = 0.247-0.466)
สรุป การบริโภคโซเดียมที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากหลายปัจจัย โดยปัจจัยที่ผู้วิจัยค้นพบคือ การเข้าถึงแหล่งอาหารที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการลดการบริโภคโซเดียม และการให้ความสำคัญต่อการลดปริมาณการบริโภคโซเดียมในอาหารที่ลดน้อยลงไปด้วย
References
World Health Organization. New WHO benchmarks help countries reduce salt intake and save lives 2021. https://www.who.int/news/item/05-05-2021-new-who-benchmarks-help-countries-reduce-salt-intake-and-save-lives
Nascimento, B. R., Brant, L. C. C., Oliveira, G. M. M. D., Malachias, M. V. B., Reis, G. M. A., Teixeira, R. A., ... & Ribeiro, A. L. P. Epidemiologia das doenças cardiovasculares em países de Língua Portuguesa: dados do" Global Burden of Disease" 2018, 1990 a 2016. Arquivos Brasileiros de Cardiologia, 110, 500-511.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค 2562 NCDs - เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. http://doh.hpc.go.th›data›ncd ›hypertension
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจข้อมูลประชากรไทย ประจำปี พ.ศ. 2560. http://www.nso.go.th›sites›Pages›2560›2560
กรมอนามัย. รายงานผลการวิเคราะห์ตามตัวชี้วัด 1.18 ร้อยละของวัยทำงานอายุ 19-59 ปี มีดัชนีมวลกายปกติ ปี 2563. https://nutrition2.anamai.moph.go.th›m_document
วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557 รายงานการประชุมปี 2560. https://www.hsri.or.th›research›new-release›detail
กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2563. https://ddc.moph.go.th›uploads›publish
Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences 1988 (2nded). Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates,
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางการแพทย์และสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4 ปี 2551. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา
Freedman, D., Pisani, R., and Purves, R. Statistics (international student edition). Pisani, R. Purves, 2007 4th Edn. WW Norton & Company, New York.
พัศมัย เอกก้านตรง, อุไรพร จิตต์แจ้ง, ประไพศรี ศิริจักรวาล และวันทนีย์ เกรียงสินยศ. ปริมาณโซเดียมในอาหารยอดนิยมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. ปี 2561 ฉบับที่ 24 เล่มที่ 2.
Bhana, N., Utter, J., & Eyles, H. Knowledge, attitudes and behaviors related to dietary salt intake in high-income countries: a systematic review. Current nutrition reports, 7(4), 2018. 183-197.
Sharif, K., Amital, H., & Shoenfeld, Y. The role of dietary sodium in autoimmune diseases: The salty truth. Autoimmunity reviews, 17(11), 2018. 1069-1073.
Prynn, J. E., Banda, L., Amberbir, A., Price, A. J., Kayuni, N., Jaffar, S., ... & Nyirenda, M. Dietary sodium intake in urban and rural Malawi, and directions for future interventions. The American journal of clinical nutrition, 2018, 108(3), 587-593.
Jayatissa, R., Yamori, Y., De Silva, A. H., Mori, M., De Silva, P. C., & De Silva, K. H. Estimation of salt intake, potassium intake and sodium-to-potassium ratio by 24-hour urinary excretion: an urban rural study in Sri Lanka. medRxiv 2020.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น