การพัฒนาและการประเมินผลของรูปแบบการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • วนิดา สมภูงา กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • พุทธิไกร ประมวล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ https://orcid.org/0000-0002-2267-5776

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
เพื่อพัฒนารูปแบบฯ ตามกระบวนการของ PDCA และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินประสิทธิผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Multivariable logistic regression การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และ Independent t-test พบว่า มี 3 ปัจจัยที่เป็นปัจจัยทำนายการควบคุมระดับน้ำตลาดในเลือดไม่ได้
โดยผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาแบบยากินและยาฉีด ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในระดับดี จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ 98% (AOR = 0.11, 95% CI= 0.02-0.53), 97% (AOR = 0.13, 95% CI=0.05-0.40) และ 72% (AOR = 0.28, 95% CI= 0.10-0.78) ทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายโอกาสในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ร้อยละ 79.92 รูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวานจังหวัดศรีสะเกษ DNCMSF Model คือ 1) Data Center: ศูนย์ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวานระดับจังหวัด 2) Network: การสร้างเครือข่าย
3) Coacher: พี่เลี้ยง 4) Monitoring: การติดตามประเมินผล 5) Social support: การสนับสนุนทางสังคม 6) Follow up: การติดตามดูแลผู้ป่วย และพบว่า หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของระดับ HbA1C ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 2.18% (Mean difference = 2.18, 95% CI = 1.18-3.17) และหลังการทดลองผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรม ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ความรุนแรงของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร : ศรีการพิมพ์. 2558.

Wild S, Roglic G, Green A, Sicree R, King H.Global prevalence of diabetes: estimates for the year 2000 and projection for 2030. Diabetes Care (serial online) 2004; 27:1047-1053.

DeFronzo, R. A., et al.. Type 2 diabetes mellitus. Nature Reviews Disease Primers, 1, 15019. doi:10.1038/nrdp.2015;.19.

Kharroubi, A. T., & Darwish, H. M.. Diabetes mellitus: The epidemic of the century. World journal of diabetes 201; 6(6), 850-867. doi:10.4239/wjd.v6.i6.850.

Davies, M. J., D’Alessio, D. A., Fradkin, J., Kernan, W. N., Mathieu, C., Mingrone, G., . . . Buse, J. B.. Management of Hyperglycemia in Type 2 Diabetes, 2018. A Consensus Report by the American Diabetes Association (ADA) and the European Association for the Study of Diabetes (EASD). Diabetes Care 2018; 41(12), 2669. doi:10.2337/dci18-0033.

Riddle, M. C., Gerstein, H. C., Holman, R. R., Inzucchi, S. E., Zinman, B., Zoungas, S., & Cefalu, W. T.. A1C Targets Should Be Personalized to Maximize Benefits While Limiting Risks. Diabetes Care 2018; 41(6), 1121-1124. doi:10.2337/dci18-0018.

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย. การสำรวจสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข. 2552.

วรรณี นิธิยานันท์, สาธิต วรรณแสง และชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย 2550. กรุงเทพมหานคร : วิวัฒน์การพิมพ์. 2550.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุของโรคไตวาย 2550. ค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564, จาก htt//bps.ops.moph.go.th/index.php?mod-bps&doc-5.

ณาเดีย หะยีปะจิ และพิสิษฐ์ พวยฟุ้ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจติดตามระดับน้ำตาลที่ กองแพทย์ เทศบาลเมืองเชียงราย. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2562; 20(3): 83-94.

ปิยะวดี ทองโปร่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองของชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. Journal of Ratchathani Innovative Health Sciences 2561; 2(4): 9-22.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์, กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, บุญสัน อนารัตน์, & นิรันดร์ ถาละคร.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2564; 16(1), 285-298.

ดารารัตน์ อุ่มบางตลาด และศตกมล ประสงค์วัฒนา. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแล

ผู้ ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 แบบเข้มต่อความรู้พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานใน PCU อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา. Journal of Nursing, Public Health, and Education (ISSN: 2651-1908 Journal Online.), 18(1), 11-23.

วัชราภรณ์ นาฬิกุล, ลำไพร แทนสา และสุรภา พิลาออน. (2563). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้โรงพยาบาลเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2(1), 77-90.

อ้อมฤทัย มั่นในบุญธรรม. (2562). ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 1(2),121-132.

อภิชาติ กตะศิลา, สุกัญญา ลีทองดี และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2560). ผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกทางคลินิกร่วมกับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19(1), 233-243.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานสรุปผลการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2559. เอกสารรายงานประจำปี 2559 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ, 2559.

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planer (3rded.). Victoria: Deakin University, 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-03