ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
รูปแบบพัฒนา, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล จำนวน 1,208 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกการมีส่วนร่วมการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ F-test
ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มีกระบวนการขับเคลื่อนของแต่ละอำเภอตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ การร่วมกันตัดสินใจ บทบาทหน้าที่ของ
ส่วนราชการ และการตัดสินใจของคณะกรรมการ พบว่า การมีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของคณะกรรมการอยู่ในระดับดีมาก และหลังการการใช้รูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(ด้านสาธารณสุข) ประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์ 4 Excellence โดยเพิ่มด้านที่ 5 การจัดการระบบสุขภาพชุมชนเป็นเลิศ (Community Excellence) ขับเคลื่อนด้วยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) มีเป้าประสงค์เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองด้านสุขภาพ ด้วยวิถีชุมชนต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. ระบบสุขภาพระดับอำเภอ. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2561 มีนาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: http://www.tro.moph.go.th/acm/DHS_Book.pdf
กระทรวงมหาดไทย. (2561). การลดความเหลื่อมล้ำในการบริการสุขภาพ โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ (พชอ.) ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 สิงหาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8580s/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf
เดชรัต สุขกำเนิด. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เพื่อการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. วารสารสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ 2545; 10(2), 124.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2546.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. เสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพอำเภอ. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาองค์ความรู้ แนวคิดและจัดพิมพ์ผลงานการพัฒนากลไกสนับสนุนระบบสุขภาพระดับอำเภอมูลนิธิแพทย์ชนบท, 2557.
ฤทัย วรรธนวินิจ. (2561). แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 สิงหาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8503s/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf
สมยศ ศรีจาระนัย. (2561). บทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2561 สิงหาคม 28]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8549s/%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1.pdf
ชดาภร ศิริคุณ และวุธิพงศ์ ภักดีกุล. 2557. “การประเมินความคิดเห็นต่อการรพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ System ระดับอำเภอ (Distric health : DHS) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร”. ว.พัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2: 1-11.
วัฒนา นันทะเสน. การประเมินผลการพัฒนางานระบบสุขภาพอำเภอ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7 (3) พฤศจิกายน 2557 –กุมภาพันธ์ 2558:105-113.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น