ปัจจัยเสี่ยงและประสิทธิภาพการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบโดยวิธีเทคนิค Lichtenstein ในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จักรกริช เถื่อนคำแสน โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ไส้เลื่อนขาหนีบ, ผ่าตัดแบบ Lichtenstein inguinal hernia repair, ประสิทธิภาพการผ่าตัด

บทคัดย่อ

ไส้เลื่อนขาหนีบ (Inguinal hernia) คือ ภาวะที่ลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้องผ่านผนังช่องท้องที่ไส้เลื่อนตรงขาหนีบ ได้รักษาโดยการผ่าตัด ด้วยเทคนิค Lichtenstein inguinal hernia repair มาในระยะหนึ่ง แต่ยังไม่มีการประเมินผลระยะเวลา และประสิทธิภาพการรักษา

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยการเกิดไส้เลื่อนขาหนีบ และประสิทธิภาพการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบ ในโรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งใช้การศึกษาแบบ Retrospective cohort กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยไส้เลื่อนขาหนีบที่เข้ารับการผ่าตัดแบบ Lichtenstein inguinal hernia repair และรักษาด้วยวิธีอื่นช่วงเดือนตุลาคม 2562-กันยายน 2564 จำนวน 58 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ multiple logistic regression และ Wilcoxon Sign rank test ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดไส้เลื่อนที่ขาหนีบคือ การศึกษามี RR = 2.11 โดยมี p–value = 0.03 (95% CI: 1.047–4.27) และระยะเวลาผ่าตัด มัธยฐาน 70.0 นาที (พิสัย: 46-152 นาที) จำนวนวันนอน มัธยฐาน 2 วัน (พิสัย: 1-7 วัน) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 30 วัน

สรุปผลการศึกษานี้ พบว่า ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมีน้อย และไม่รุนแรง ซึ่งอาจเป็นการเริ่มต้นในการพัฒนาระบบส่งต่อและนัดผ่าตัดผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉิน รวมถึงการปรับเป็นระบบ one day surgery ในกรณีที่มีการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่อีกด้วย

References

Mohamad Hammoud and Jeffrey Gerken. Inguinal hernia. StatPearls Publishing, Jun 2020.

Smeltzer, S.C., Bare, B.G., Hinkle, J.L. & Cheever, K.H. (2010). Brunner & Suddarth’s text book of medical-surgical nursing volume 2. 12thed. China: Lippincott Williams & Wilkins.

Jensen, K.K., N.A. Henriksen, and L.N. Jorgensen, Epidemiology of Inguinal Hernia. Textbook of Hernia, ed. W.W. Hope, W.S. Cobb, and G.L. Adrales. 2017: Springer International Publishing. 23-28.

McQueen, K.A.K., et al., Essential surgery: integral to the right to health. Health and Human Rights in Practice, 2010. 12(1): p. 137-152.

Ozgediz, D., et al., The burden of surgical conditions and access to surgical care in low- andmiddle-income countries. Bulletin of the World Health Organization, 2008. 86(8): p. 646-647.

นัทธมน วุทธานนท์. (2554). การพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัด. ใน นัทธมน วุทธานนท์ (บรรณาธิการ), การปฏิบัติการพยาบาลในคลินิกศัลยกรรม. เชียงใหม่: นันทพันธ์พริ้นติ้ง.

เฉลิมพล บุญพรหมธีรกุล. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาไส้เลื่อนขาหนีบระหว่างการผ่าตัดด้วยวิธี Totally Extraperitoneal Hernia Repair และ Lichtenstein inguinal hernia Repair ในโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(1), 42-47.

วิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์. (2563). “Inguinal Hernia Repair; How to be the Best. Tip and Technique: Open Repair Hernia; How I do it ?” ใน ศัลยศาสตร์ทั่วไป เล่ม 30, วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์: บรรณาธิการและคณะ, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: สมาคมศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2563, 452-466.

วิลพงษ์ พรมน้อย, ภูริพัฒน์ นริษทิ์ภูวพงษ์. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในระยะสั้นของการผ่าตัดไส้เลื่อนขาหนีบแบบ TEP กับ Lichtenstein repair. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร,19(3), 1-11.

การจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทยและน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับ 6.2. สำนักพัฒนากลุ่มโรคร่วมไทย (สรท.), 2560, หน้า 132และ167.

สุทธิรักษ์ บัวแก้ว, อดิศร ชุมคช และวันลภ ดิษสุวรรณ์. (2561). การศึกษาย้อนหลังประสิทธิผลการผ่าตัดภาวะไส้เลื่อนในโรงพยาบาลพัทลุง. วารสารศัลยแพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 48-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05