ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พงศกร บุญมาตุ่น -
  • วุธิพงศ์ ภักดีกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
  • วรินท์มาศ เกษทองมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), อสม., การเฝ้าระวังป้องกันโรค

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี จำนวน 489 คน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน 2565 รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.50 (อายุเฉลี่ย 54 ปี) (ระยะเวลาเป็น อสม. เฉลี่ย 14.60 ปี) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คือ พฤติกรรมการป้องกันตนเอง การดูแลสุขภาพตนเอง การล้างมืออย่างถูกวิธี แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การรับรู้ความรุนแรงของโรค การควบคุมโรคเชิงรุก การสื่อสารวางแผนติดตาม การค้นหาข้อมูลบันทึกรายงานผล และการสนับสนุนอุปกรณ์เวชภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (rs=0.694, 0.641, 0.715, 0.775, 0.635, 0.799, 0.765, 0.706 และ 0.715 ตามลำดับ) สำหรับ อายุ และความรู้ มีความสัมพันธ์กับการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (rs=0.089, 0.098 ตามลำดับ)

References

WHO, & China. Report of the WHO-China joint mission on coronavirus disease 2019 (COVID-19). Brazilian Journal of Implantology and Health Sciences; 2020. 2(3).

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. นนทบุรี ; 2563.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. สรุปสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ; 26 ธันวาคม พ.ศ.2564; อุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี; 2564.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับ เจ้าหน้าที่ และ อสม. กรุงเทพมหานคร; 2563.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวรัตน์ ไวชมภู และกชกร ฉายากุล. ความสำเร็จในการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาส

ราชนครินทร์. 2563; 12: 195-212.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. วิวัฒนาการการสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย. นนทบุรี: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; 2557.

ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอทุ่งฝน. ข้อมูลสถิติโรคโควิด 19 อำเภอทุ่งฝน. จังหวัดอุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งฝน; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งฝน. ข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอทุ่งฝน. จังหวัดอุดรธานี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งฝน; 2564.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย Statistics for health science. กรุงเทพฯ: วิทยพัมน์; 2553.

Bloom BS. Learning for mastery. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California at Los Angeles; 1896.

Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York. Houghton Mifflin; 1998.

ปรัศนี หอมดี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอปากชม จังหวัดเลย.วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย; 2558.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564; 4: 33-48.

กาญจนา ปัญญาธร, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และวรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. JOURNAL OF PHRAPOKKLAO NURSING COLLEGE. 2565; 32: 189-204.

Nueakhumung J, Kedthongma W, & Phakdeekul W. Factor Effecting to Participation of Public Health Volunteers in Education Institution. test engineering & management. 2020; 83: 16230 - 16233.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 2563; 14: 25-36.

Krassanairawiwong, T., Suvannit, C., Pongpirul, K., & Tungsanga, K. Roles of subdistrict health office personnel and village health volunteers in Thailand during the COVID-19 pandemic. BMJ Case Reports CP. 2021; 14: e244765.

Kedthongma W. and Phakdeekul W. Effects on Mental Health and Subjective Well-being of Thai Marriages with Foreigners During COVID-19 Pandemic. Positive Psychology and Wellbeing. 2022; 6: 863-870.

Lee, D., Heo, K., & Seo, Y. COVID-19 in South Korea: Lessons for developing countries. World Development. 2020; 135: 105057.

Wan, K.-M., Ho, L. K.-k., Wong, N. W., & Chiu, A. Fighting COVID-19 in Hong Kong: The effects of community and social mobilization. World Development. 2020; 134: 105055.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-02