การพัฒนาคลินิกเด็กพิเศษ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อิสรีย์ จึงสำราญพงศ์ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คลินิกเด็กพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของเด็กพิเศษ กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและความต้องการของแต่ละกลุ่ม และพัฒนาคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็ก 0–5 ปี ที่มารับบริการคลินิกเด็กพิเศษ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test ด้วยเทคนิค One way ANOVA Dependent t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า ความเข้าใจการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองที่มารับบริการคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม ก่อนการรับบริการโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง หลังการรับบริการ โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ก่อนและหลังการรับบริการ โดยรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการรับบริการมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการรับบริการ หลังการรับบริการโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เด็กที่มารับบริการกลับมาสมวัย ร้อยละ 50.0 กระตุ้นครบเกณฑ์ ร้อยละ 25.อยู่ระหว่างการกระตุ้น ร้อยละ 12.5 และส่งต่อนักกิจกรรมบำบัด ร้อยละ 12.5

References

เด็กพิเศษ. [ออนไลน์ 2565] [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565] สืบค้นจาก http://www.happyhomeclinic.com/sp01-specialchild.htm.

เด็กพิการ 9 ประเภท.[ออนไลน์ 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565] สืบค้นจาก http://edu.crru.ac.th/chusri56/เด็กพิเศษ.pdf.

เด็กสมองพิการ. [ออนไลน์ 2563] [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563] สืบค้นจาก http://www.rajanukul.go.th/main/index.php?mode=academic&group=&submode=academic&idgroup=11&group=1.

โรงพยาบาลดอนสถาการณ์เด็กพิเศษ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม 2018, 2563.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. เด็กพิเศษ Special Child. [ออนไลน์ 2565]. [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563] สืบค้นจาก https://th.rajanukul.go.th/preview-5033.html สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565.

Best, John W. Research in Education. 4 th ed. New Jersey: Prentice-Hall, 1981.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดบริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี นพวรรณ ศรีวงค์พานิช และนางนิรมัย คุ้มรักษา บรรณาธิการ. บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด. 2555.

สถาบันราชานุกูล. คู่มือครูระบบการดูแลนักเรียนกลุ่มเด็กพิเศษที่มีภาวะบกพร่อง ทางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ พับลิสซิ่ง,2556.

อนัญญา สินรัชตานันท์ และธีรารัตน์ แทนขำ. แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง

ออทิสติกสมาธิสั้นและภาวะบกพร่องทางการเรียนสำหรับเครือข่ายบริการสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ฟาสต์บุคส์, 2556.

ประเวศ ปรีดาชัยกุล. ประสิทธิผลการคัดกรองช่วยเหลือเด็กที่เสี่ยงต่อภาวะบกพร่องทางพัฒนาการและการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 12 โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2559 30(3) 179-86.

สมลักษณ์ กอกุลจันทร์ มรรยาท รุจิวิชชญ์ พนิดา ศิริอำพันธ์กุล. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลเด็กที่มีภาวะบกพร่องด้านการเรียน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต.2561 32(3)8) 1-12.

โสภณ สวัสดิ์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญาในศูนย์ส่งเสริมพัฒนาการราชานุกูลต่อคุณภาพชีวิตเด็กบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา. [ออนไลน์ 2561] [สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563] สืบค้นจาก https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-research/61-0-1610437711.pdf

Landrum, P., Beck, K., Rawlins, P., & Williams, R. (1993). In R. Rawlins, S. Williams and C. Beck (Eds.), Mental health - Psychiatric nursing: A holistic life – cycle approach (3rd ed., pp. 17 - 39). Mosby Year Book: London, UK.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-05