การพัฒนามาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในโรงพยาบาลบางเลน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กมลลักษณ์ จินดาไตรรัตน์ โรงพยาบาลบางเลน จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

COVID Free Setting in Hospital

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ ความเป็นไปได้ สถานการณ์ตามหลักเกณฑ์ และพัฒนาสถานบริการให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 169 คน เก็บข้อมูลจาก แบบประเมินการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า หลังการดำเนินการ ผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในโรงพยาบาล ผ่านเกณฑ์ทั้ง 3 ด้าน ส่วนความมั่นใจในมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ในโรงพยาบาล อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่หลังการดำเนินการ มีระดับความมั่นใจในมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร มากกว่าก่อนดำเนินการ ทั้งโดยรวม (p-value< 0.00) ด้านสิ่งแวดล้อม (p-value < 0.00) ด้านบุคลากรปลอดภัย (p-value <0.00) และด้านผู้ใช้บริการปลอดภัย (p-value <0.00)

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย; 2563.

Bikdeli B, Madhavan MV, Jimenez D, Chuich T, Dreyfus I, Driggin E, และคณะ COVID-19 and Thrombotic or Thromboembolic Disease: Implications for Prevention, Antithrombotic Therapy, and Follow-up. Journal of the American College of Cardiology. 2020. doi:10.1016/j.jacc.2020.04.031. PMC 7164881. PMID 32311448.

Velavan TP, Meyer CG. "The COVID-19 epidemic". Tropical Medicine & International Health. 2020 25 (3): 278–280. doi:10.1111/tmi.13383. PMC 7169770. PMID 32052514.

ข่าวทันสถานการณ์โควิด-19. สธ.เผยคนไทยยกการ์ดสูงขึ้นอีกครั้ง.[ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 13 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaigov.go.th /news /contents/ ministry details/32367.

กรมอนามัย. ข้อเสนอการยกระดับมาตรการ กรณีเปิดสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (Covid Free Setting) [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึง 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://covid19.anamai.moph.go.th/th

กรมอนามัย. คำแนะนำสถานประกอบการ / พื้นที่สาธารณะ. [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึง 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.anamai.moph.go.th/th/establishments/

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1); 2563.

วิรงรอง แก้วสมบูรณ์, สุธิดา วรโชติธนัน, คัดคนางค์ ศรีพัฒนะพิพัฒน์, รุจิรา หมื่นทอง, กษมา นับถือดี, เขมพรรษ บุญโญ, สรยา ศิริเพชร. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหา โรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564). วารสารควบคุมโรค 2561; 44(1):50-62.

อภิญญา หนูมี. กระบวนการจัดประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2560;11(1):81-106.

จิรายุ โพธิ์ศรี. การประชุม.[ออนไลน์]. 2560 [เข้าถึง 16 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://nkw0576105761.circlecamp.com

นอรีนี ตะหวา, ปวิตร ชัยวิสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมศักยภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเขตตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10;2562: 1612-27.

กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, วรรธนี ครองยุติ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2564; 32(1): 189-204.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-06