ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของชาวมุสลิม ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ปานชนก ภูเดช สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง
  • นายมุเล็ง ตาแห
  • วิทวัส หมาดอี
  • กุสุมาลย์ น้อยผา คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, พฤติกรรม, พืชสมุนไพร, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์ กับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ของชาวมุสลิม ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติไคสแคว์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 77.78 มีเจตคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 96.38 และมีพฤติกรรมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.39 และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมมีดังนี้ 1) อายุ อาชีพ และประสบการณ์การใช้
พืชสมุนไพรมีความสัมพันธ์กับความรู้เรื่องการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (p-value<0.005, <0.01 และ <0.01) 2) อาชีพ และประสบการณ์การใช้พืชสมุนไพรมีความสัมพันธ์กับเจตคติต่อการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (p-value<0.005) และ 3) อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และประสบการณ์การใช้พืชสมุนไพรมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (p-value<0.005)

Author Biographies

นายมุเล็ง ตาแห

1นิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

วิทวัส หมาดอี

2นักการแพทย์แผนไทย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

กุสุมาลย์ น้อยผา, คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง

3 Lecturer of Thai Traditional Medicine Department,Faculty of Health and Sports Science,Thaksin University

References

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนมาลย์ อุทยมกุล. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14: 124-33.

สำนักงานจังหวัดนราธิวาส. สถานการณ์ Covid-19 [อินเทอร์เน็ต]. นราธิวาส; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.narathiwat.go.th/nara2016/covid

เสนาะ ขาวขำ, เทวัญ ธานีรัตน์ และพระปลัดสมชาย ปโยโค. การใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่องานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ 2560; 5: 237-49.

กรมสุขภาพจิต. ฟ้าทะลายโจรกับการระบาดของโควิด-19. นนทบุรี; กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://dmh.go.th/news/view.asp?id=2369.

Khaerunnisa S, Kurniawan H, Awaluddin R, Suhartati S, Soetjipto S. Potential inhibitor of COVID-19 main protease (Mpro) from several medicinal plant compounds by molecular docking study. Preprints 2020, 2020030226; doi: 10.20944/preprints202003.

Ranjan P, Mohapatra B, Das P. A rational drug designing: what bioinformatics approach tells about the wisdom of practicing traditional medicines for screening the potential of Ayurvedic and natural compounds for their inhibitory effect against COVID-19 Spike, Indian strain Spike, Papain-like protease and Main Protease protein. Research Square 2020; doi.org/10.21203/rs.3.rs-30366/v1.

Orem D, Taylor S, Renpenning K. Nursing: Concepts of practice (6thed.). St. Louis: Mosby; 2001.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2543.

เขมิกา ขุนเพ็ชร, ตัสนีม จาเงาะ, นูรอาซียะห์ ซามะ, โนรีซา สะมะเเอม, พิมพิมล บัวสงค์, รอซีดะห์ ดาโอ๊ะ, วิทวัส หมาดอี และกุสุมาลย์ น้อยผา. ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในการป้องกันโรคโควิด-19 ของนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13: 346-56.

เทพไทย โชติชัย, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, กิรณา แต้อารักษ์, สายันห์ ปัญญาทรง, และอ้อยทิพย์ บัวจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563; 7: 45-56.

พนธกร เหมะจันทร, ณัชชวรรณ์ รัมมะนพ และลภาวัน โลหิตไทย. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้ยาพืชสมุนไพรในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัวโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2562; 9: 87-100.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชศรีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564; 36: 597- 604.

ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุธิดา ดีหนู และสิริณัฐ สินวรรณกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2562; 20: 99-109.

วิริญญา เมืองช้าง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้พืชสมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน ในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.

จารุวรรณ ศรีสร้อย, พิไลวรรณ ลี้พล, และกาญจนา วงษ์สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคยาต้มพืชสมุนไพรของประชาชนบ้านโคกลาย ตำบลม่วงลาย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต]. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10