ความพึงพอใจต่อคู่มือการทำหนังสือสั่งการ ชนิด คำสั่ง ของบุคลากรที่รับผิดชอบ ด้านงานสารบรรณ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สุธนา ลีลาอดิศร สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, คู่มือการทำหนังสือสั่งการ ชนิด คำสั่ง, บุคลากรรับผิดชอบด้านงานสารบรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคู่มือการทำหนังสือสั่งการ ชนิด คำสั่ง ของบุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานสารบรรณ กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานสารบรรณ จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.68 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 33 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59.2 เป็นข้าราชการร้อยละ 50.5 สังกัดหน่วยงานส่วนกลาง ร้อยละ 68.9 ระยะเวลาการทำงานมากกว่า 1–5 ปี ร้อยละ 33.01 พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการทำหนังสือสั่งการ ชนิด คำสั่ง ของบุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานสารบรรณ กระทรวงสาธารณสุข ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน คือด้านเนื้อหาสาระ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ และด้านรูปเล่ม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.45, S.D. = 0.61) คู่มือมีรายละเอียดการร่างหนังสือราชการและการร่างคำสั่งราชการที่ชัดเจน ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดทักษะและนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการพัฒนาคู่มือการเรียนรู้หนังสือราชการฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ โดยใช้กระบวนการคุณภาพ (PDCA) เพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการปฏิบัติงานสารบรรณ

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับปรับปรุงตามผลการรับฟังความเห็นของประชาชน).[ออนไลน์].2565.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: http://academic.swu.ac.th

Timothy C. Peters. A study of the role of the chief business officers of small private colleges and university (Doctoral dissertation). California: Pepperdine University; 1999.

กองเทพ เคลือบพนิชกุล. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 กับการปฏิบัติงานสำนักงาน. กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิต; 2526.

อุดมศักดิ์ ปัญญาอินทร์. สภาพงานสารบรรณและสมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานด้านสารบรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. [อินเตอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1405.

เพ็ญศรี สุรไชยะ. ปัญหางานสารบรรณและแนวทางแก้ไข.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 2553; 5(2): 171-182.

ณัฐรัตน์ แท่นทอง, วรรณพร บุญส่ง, กัญชพร พรหมจักศรและจุไรรัตน์ รัตติโชติ. การใช้ภาษาในการเขียนหนังสือราชการ ที่ว่าการอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2563; 10(1): 83-102.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.

วิไลวรรณ สิงห์เจริญ. การพัฒนางานสารบรรณ ฝ่ายธุรการและสารบรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2555.[เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565].เข้าถึงได้จาก: https://www.council.vast.com > news

Saysunee Sangphueak. The development of clerical working system for office correspond-ence. [Internet]. 2019. [cited 2022 Oct 10, 2022] Available from: https://conferaces.com > journal > article > download

สดใส เลิศเดช. การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานธุรการและงานสารบรรณ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 2562; 6(2): 276-287.

สุเทพ ไชยวุฒิ, เกตุมณี มากมีและศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์. การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร. 2560; 13(2): 129-147.

พัชรินทร์ จันทร์แจ้ง. การพัฒนาคู่มือการเบิกจ่ายใช้จ่ายในการจัดโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. [รายงานการวิจัย]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2559.

นุดี รุ่งสว่าง. การพัฒนาคู่มือการสร้างหลักสูตรระดับโรงเรียนสำหรับครูประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2543.

อมรรัตน์ ศูนย์กลาง. การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสำหรับครูประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2544.

ธนวัฒน์ รัตนเดโช. การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2020; 12(1).

Johanna Maria Radsma. Clerical Workers: Acquiring the skills to meet tacit process expecta-tions (Doctoral dissertation). Ontario: University of Toronto; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-10