การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านโภชนาการโดยกลไกโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อแก้ไขภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการภาวะอ้วน, ภาวะอ้วน, โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการด้านโภชนาการโดยกลไกโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อแก้ไขภาวะอ้วนในกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ศึกษาในกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 โรงเรียนพินิจราษฎร์บำรุง
ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวน 82 คน และกลุ่มภาคีเครือข่ายจำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือในการพัฒนารูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือเชิงปริมาณโดยแบบสอบถาม เครื่องมือเชิงคุณภาพ เพื่อบันทึกและสังเกตการณ์มีส่วนร่วม ระยะเวลาในการศึกษา สิงหาคม–ตุลาคม 2565 รวม 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วย Paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการมี 7 ขั้นตอน 1) ศึกษาบริบท และสภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ดำเนินงานตามแผน 5) สังเกตการณ์มีส่วนร่วม 6) สรุปบทเรียน 7) ประเมินปัจจัยความสำเร็จ โดยพบว่า หลังการพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ มีชมรมออกกำลังกาย และหลังการอบรมมีผลคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การปฏิบัติตัวเพื่อลดภาวะอ้วน การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ การสื่อสารสุขภาพ การจัดการตนเองและรู้เท่าทันสื่อ การตัดสินใจ เลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะอ้วนเพิ่มมากกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05
References
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการควบคุมและป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2563). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามตัวชี้วัดตามคำรับรองปฏิบัติราชการ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2563). รายงานจากระบบ Health Data Center (HDC) งานอนามัยโรงเรียน.
เกศินี สราญฤทธิชัย. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีและหารประยุกต์ใช้ (Health Literacy: Concept, Theories, and Applications): คลังนานาวิทยา.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานการประชุมคณะกรรมการกำกับติดตามตัวชี้วัดตามคำรับรองปฏิบัติราชการ.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.
ธนันญดา บัวเผื่อน. (2561). รูปแบบกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตเมือง. อินทนิลทักษิณสาร.
โสภา อยู่อินไกร. (2555). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลุ่มเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. มหาวิทยาลัยพะเยา.
ศศิธร ตันติเอกรัตน์ และคณะ. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันโรคอ้วนต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกายของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2558.
บุษรัตน์ พุฒวิชัยดิษฐ์ และนพวรรณ เปียซื่อ. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการอ่านฉลากโภชนาการของขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการอ่านฉลากโภชนาการในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6. รามาธิบดีพยาบาลสาร.
ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี. (2562). รูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรียน 6-15 ปี โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย.
กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2556). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินโดยการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(2):44-5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น