ผลการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในการทำหัตถการส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โรงพยาบาลสกลนคร

ผู้แต่ง

  • นิจวรรณ หนองขุ่นสาร โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร
  • วิชชุดา กิตติวราฤทธิ์ โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร

คำสำคัญ:

มาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด, สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด, การส่องกล้องระบบทางน้ำดีและตับอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การทำ ERCP 2) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในการทำ ERCP 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในการทำ ERCP กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบจำเพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ได้แก่ 1) ผู้ป่วยทำ ERCP 72 คน 2) พยาบาลห้องผ่าตัด 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะ แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นชายและหญิงเท่ากัน อายุ 61-70 ปี ร้อยละ42 ได้รับการเตรียมก่อนผ่าตัด ร้อยละ 100 ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีคะแนนความพึงพอใจระดับมาก คะแนนเฉลี่ยภาพรวม 4.30 (SD = 0.59) กลุ่มตัวอย่างพยาบาล มีคะแนนสัดส่วนความรู้ก่อนและหลังผ่าตัด ไม่ต่างกันผลการประเมินสมรรถนะก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

สรุปได้ว่า การพัฒนาสมรรถนะเฉพาะหัตถการของพยาบาลห้องผ่าตัด โดยระบบพยาบาลพี่เลี้ยงและระยะเวลาในการฝึกที่เหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิผล

References

สุกิจ พันธุ์พิมานมาศ, ทวี รัตนชูเอก. หัตถการการส่องกล้องระบบทางเดินน้ำดีและตับอ่อน Practical ERCP. 2556; กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

Benner PE. From novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice, 1984; California: Addsion-Wesley.

ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสกลนคร. รายงานการประเมินตนเองห้องผ่าตัด โรงพยาบาลสกลนคร.2564; /statistic60.html.

อุษาวดี อัศดรวิเศษ. สาระหลักทางการพยาบาลศัลยศาสตร์เล่ม 2 ฉบับบปรับปรุง.พิมพ์ครั้งที่ 2. 2555; กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาลปรับปรุงครั้งที่ 2. 2550; นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. 2554; กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทสไทย. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด Perioperative Nurse Competency. 2554; กรุงเทพเวชสาร: กรุงเทพ.

อัญญา ปลดเปลื้อง. สมรรถนะของพยาบาลพี่เลี้ยง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชครินทร์ 2556.; 8(3):168-174.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSSและ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. 2555; นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.

จุฬาลักษณ์ บารมี. สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS. 2551; ชลบุรี: ศรีศิลปะการพิมพ์.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4. 2562;.นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล.

ศรีสุดา พีรวณิชกุล, อนงค์ ศรชัย, วิลาวรรณ ตันติสิทธิพร, คำพอง คำนนท์, วันเพ็ญ สุกแสง. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลราชวิถี. [online]. [2023 Jan 9] Available from: he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/252563/171571.

สุภิดา สุวรรณพันธ์, มะลิวรรณ อังคณิตย์, อารียา สอนบุญ. สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดและปฏิบัติการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(3): 51-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-05