ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัด ต่ออัตราการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • พจี ศีลพันธ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

โรคมะเร็ง, การรั่วซึมของยาเคมีบำบัด, เคมีบำบัด

บทคัดย่อ

ภาวะการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือดดำส่วนปลายเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดต่ออัตราการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง 30 รายและกลุ่มควบคุม 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติฟิชเชอร์

ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดไม่เกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดร้อยละ 96.7 ส่วนกลุ่มควบคุมไม่เกิดการรั่วซึมร้อยละ 90.0 ไม่มีความแตกต่างกันทางนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p = 0.612) ความพึงพอใจของผู้ป่วยมะเร็งต่อการใช้แนวปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.90) และ ความพึงพอใจของพยาบาลผู้ดูแลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.47)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้แนวปฏิบัติสามารถการป้องกันการเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดได้ ผู้ป่วยมะเร็งและพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระดับมากต่อการใช้แนวปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรนำแนวปฏิบัตินี้มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

References

WHO. จำนวนประชาชนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง. [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2021/07/22081

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 5 อันดับ สถิติมะเร็งในคนไทย-ที่ควรดูแลตนเองให้ห่างไกล. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค.2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.paolohospital.com/th-TH/phrapradaeng/Article/Details/บทความ-โรคมะเร็ง/5-อันดับ-สถิติมะเร็งในคนไทย-ที่ควรดูแลตนเองให้ห่างไกล.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข .เปิดสถิติโรคมะเร็งในคนไทยดันยอดผู้ป่วยใหม่ทะลุแสนรายต่อปี.[อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค.2564]; เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/general/news-869575

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (International Agency for Research on Cancer:IARC).เจาะลึกเรื่องมะเร็งโลกมาถึงยุค “มะเร็งแม่นยำ” เมืองไทยนำมาใช้แล้วหรือยัง.[อินเตอร์เน็ต] 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค.2564]; เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/qol/detail/9650000112510

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. ข้อมูลสถิติผู้ป่วยโรคมะเร็ง ระหว่างปี พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2563.

หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งมารับยาเคมีบำบัดระหว่างปี พ.ศ. 2561 พ.ศ. 2563.โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2563.

วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. การพยาบาลที่เป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2554.

กาญจนา ใจดี. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับการป้องกันการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดในผู้สูงอายุที่เป็นโรคมะเร็ง หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลลำปาง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

Pathomjaruwat T. (2016). Impact of a nursing care guideline on prevention and management of extravasation. Journal of Nursing council. 2016; 31(2), 81-95. Thai.

Doellman D, Hadaway L, Bowe-Geddes LA, et al. Infiltration and extravasation:Update on prevention and management. J Infus Nurs.2009; 32(4): 203-211.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ extravasation. Thai Journal of Nursing Council. 2561; 31: 81-95.

สุรีพร มณีรัตน์. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติในการป้องกันการเกิด Extravasation ต่ออัตราการเกิด Extravasation ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด. มหาวิทยาลัยรังสิต. 2561.

Mohamed. M. A. S, Elmaati. A. B. M. H, and Mohamed. H. M. E. Eliminating Extravasation Events: Impact of Intervention Guidelines on Patients Receiving Chemotherapy. Novelty Journals. [Internet]. 2019 [cited 9 Aug 2021]; 6: 1192-1205. Available from: file:///C:/Users/user/Downloads/EliminatingExtravasationEvents-2146.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-15