ตัวชี้วัดผลลัพธ์การบริหารจัดการองค์กรพยาบาลของหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัดผลลัพธ์, การบริหารการพยาบาล, หัวหน้าพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดผลลัพธ์การบริหารจัดการองค์กรพยาบาลของหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารการพยาบาลระดับหัวหน้าพยาบาล จำนวน 12 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและ/หรืออาจารย์พยาบาล ในองค์กรด้านการพยาบาลและในสถานศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญการบริหารการพยาบาลและการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล จำนวน 9 คน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยใช้แนวคิดเกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ.2562 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นในรอบที่ 2 และรอบที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ คัดเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์การบริหารจัดการองค์กรพยาบาลของหัวหน้าพยาบาลโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จากค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป (Median £ 3.5) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ที่มีความเห็นสอดคล้องกันไม่เกิน 1.5 (IR ³ 1.5)
ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การบริหารจัดการองค์กรพยาบาลของหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกัน 114 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับสำคัญมาก ถึง มากที่สุด จำแนกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการนำองค์กรพยาบาลและการกำกับดูแลองค์กร จำนวน28 ตัวชี้วัด 2) ด้านประสิทธิผลและการบรรลุพันธกิจ จำนวน 16 ตัวชี้วัด 3) ด้านการตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 14 ตัวชี้วัด 4) ด้านงบประมาณ การเงิน และการเติบโต จำนวน 8 ตัวชี้วัด 5) ด้านบุคลากรทางการพยาบาล จำนวน 25 ตัวชี้วัด และ 6) ด้านการบริหารจัดการบริการพยาบาลและการจัดการเครือข่ายอุปทาน จำนวน 23 ตัวชี้วัด
References
กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 456-68.
เกศรา อัญชันบุตร, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2552). ลักษณะฝ่ายการพยาบาลที่เป็นเลิศในโรงพยาบาลตติยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). KPI key Performance Indicators. สืบค้นจาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=1474
จุฑารัตน์ บันดาลสิน (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 69-78.
ชมพู วิพุธานุพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และพาณี สีตกะลิน. (2559). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 9(31), 38
ณัฐฐา เสวกวิหารี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญากิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพ.
นงลักษณ์ จิรประภาพงษ์. (2557). คุณลักษณะของโรงพยาบาลรัฐที่น่าอยู่น่าทำงานสังกดักระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(1), 91-101.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2551). การพัฒนาองค์กรเพื่อการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ: พิมพ์ตะวัน.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2561). การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
พสุ เดชะรินทร์. (2549). รายงานผลการศึกษาพัฒนารูปแบบเบื้องต้นของหน่วยงานภาครัฐ: องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง คณะพาณิชยศาสตร์และการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.
พาณี สีตกะลิน. (2558). ผู้นำกับการบริหารโรงพยาบาล. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพออนไลน์สาขาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สืบค้นจาก https://www.stou.ac.th/schools/shs/booklet/book581/Hospital581.pdf
พวงทิพย์ ชัยพบาลสฤษดิ์. (2551). คุณภาพการบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ. บริษัท วี. ปริ้นท์
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2549). เส้นทางสู่การพยาบาลยอดเยี่ยม. กรุงเทพ. สุขุมวิทการพิมพ์
เพ็ญศรี ลี้สุวรรณกุล. (2559). การพัฒนาองค์การให้มีสมรรถนะสูง: กรณีศึกษาสำนักงาน พระพุทธศาสนาจังหวัดเพชรบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, นครปฐม.
มัลลิกา สุบงกฎ, และคณะ. (2559). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University. 9(2), 1926.
วันวิสาข์ สุทธิบริบาล, และคณะ. (2554). การใช้สารสนเทศของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบรรณศาสตร์ มศว., 4(2), 45
รานันท์ อนุชน. (2556). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการบริการที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก., 14(3), 161.
สภาการพยาบาล. (2558). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกลและการปฏิบัติ. นนทบุรี.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2558). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท หนังสือดีวัน จำกัด.
สุเมธา เฮงประเสริฐ. (2548). การพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
สุนันทา ลักษ์ธิติกุล, อุไร หัถกิจ, และจิรพรรณ พีรวุฒิ. (2551). ประสบการณ์ของพยาบาลในการปฏิบัติงานกรณีธรณีพิบัติภัยในโรงพยาบาลของจังหวัดพังงา. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(4), 351-360
อนัญญา ภาเจริญสิริ. (2562). ภาวะผู้นำของหัวหน้าพยาบาลสู่ความเป็นเลิศระดับสากลขององค์การพยาบาลโรงพยาบาลตติยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
อารีย์ คำนวนศักดิ์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ความไว้วางใจในองค์การกับผลการดำเนินการของกลุ่มการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
Blegen, A, M., Goode, JC. and Reed, L. (1988). Nursing staffing and patient outcome, Nursing research 47 (1): 43-50.
Rambur, B., Palumbo, M. V., Mclntosh, B., & Mongeon, J. (2003). A statewide analysis of RN,s intention leave their position. Nursing Outlook, 51, 182-188.
Russell, G., Scoble, K. B. (2003). Vision 2020, Part II: Education preparation for the future nurse manager. JONA, 33(7/8), 404-409.
Stichler, J. F. (2006). The emerging nurse executive. AWHONN Lifelines, 10(1), 71-73.
Simpson, M. R. (2008). Engagement at Work: A Review of the Literature. International Journal of Nursing Studies. 46: 1012-1024.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น