การประเมินแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม ปี 2565

ผู้แต่ง

  • สงัด เชื้อลิ้นฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • อุดม บุบผาทาเต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การประเมินผล, แผนยุทธศาสตร์, ระบบสุขภาพจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินแผนยุทธศาสตร์และผลลัพธ์การดำเนินงานในแก้ไขปัญหาการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม ปี 2565 เป็นการวิจัยเชิงประเมินผลตามกรอบของ CIPP model ประชากร คือ 1) ผลการดำเนินงานจำนวน 21 ตัวชี้วัดหลัก 70 ตัวชี้วัดย่อย ของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ 2) ผู้ประสานแผนงาน 14 กลุ่มงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจำนวน และ13 เครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ แห่งๆ ละ 10 คน รวมทั้งหมด 158 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือเป็นแบบตรวจสอบ  แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน

ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการ อยู่ในระดับสูง ส่วนคะแนนประเมินผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดภาพรวม 6 ยุทธศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 4.05 (ระดับดีมาก) โดยสูงสุด คือ CUP เชียงยืน (4.38/ระดับดีมาก)
การเตรียมความพร้อมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของตัวชี้วัดแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ (1) ให้วิเคราะห์เชิงระบบเพี่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ และยกระดับตัวชี้วัดระดับดีให้เป็นระดับดีมาก และระดับดีมากให้เป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศและเกิดนวัตกรรม (2) ให้เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการวางแผนและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ

References

วัฒนา วัฒนพงศ์. ระบบการวางแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการแบบองค์รวม. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ 2545; 42(17).

ประชุม รอดประเสริฐ. นโยบายและการวางแผน หลักการและทฤษฎี. กรุงเทพ: เนติกุลการพิมพ์; 2535.

สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ.. การจัดการงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อาทิตย์ โพรดักส์ กรุ๊ป; 2546.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รูปแบบการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; มปป.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา ฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์; 2542.

สุพจน์ ทรายแก้ว. การจัดการภาครัฐแนวใหม่. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนา; 2545.

พวงรัตน์ เกษรแพทย์. การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2543.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท; 2544.

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. กลยุทธ์การแข่งขันของธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มติชน; 2544.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560. (2560, 14 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2554.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพจังหวัดมหาสารคาม ปี 2565 และตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ปี 2565 สู่การปฏิบัติในระดับอำเภอ ปีงบประมาณ 2565. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

Stufflebeam, Daniel L. The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational Accountability. Atlantic City: N.J.; 1971.

บุญชม ศรีสะอาด. การแปลผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2535.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์-สารคามเปเปอร์; 2553.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินแผนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านสาธารณสุขระยะแรก (พ.ศ. 2560-2564) นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16