การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
บริการสุขภาพที่เป็นมิตร, วัยรุ่นและเยาวชน, พฤติกรรมสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพเแบบปรากฎการณ์วิทยานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นบุคลากรสาธารณสุขผู้ให้บริการสุขภาพทุกคนในคลินิกวัยรุ่นที่ให้บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ให้บริการโดยทีมสหวิชาชีพแบบบูรณาการความร่วมมือ ได้แก่ พยาบาลทั่วไป แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้านสูตินรีเวช พยาบาลจิตเวช และนักสังคมสงเคราะห์ ให้บริการคำแนะนำ ปรึกษา ส่งต่อและรักษาแบบครบวงจร ครอบคลุมทุกมิติของปัญหาของพฤติกรรมสุขภาพ กระบวนการจัดบริการทำทั้งเชิงรุกและเชิงรับ ครอบครัวให้ร่วมมือในการดูแลวัยรุ่น ทุกภาคส่วนร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ทั้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข โรงเรียน และชุมชน หลักการปฏิบัติตัวของผู้ให้บริการต่อวัยุร่นและเยาวชนใช้สัมพันธภาพที่ดี มีความไว้วางใจ มีความสุภาพ ไม่แสดงท่าทางหรือความรู้สึกในเชิงลบต่อผู้รับบริการ ปัญหาหรืออุปสรรคในการให้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่มาจากทัศนคติของผู้ปกครอง ใช้คำหยาบหรือซ้ำเติมเด็ก และการมารับบริการไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น การบริการสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนควรวางแผนและพัฒนาแนวทางการดำเนินการจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชนต่อไป
References
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและความรู้เพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัด สอพ.ปี 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://rh.anamai.moph.go.th/web-uploaก/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/tinymce/kpi66/3-10/3.10-1.1.pdf
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. มาตรฐานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน ฉบับ พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2563.
World Health Organization & UNAIDS. Global standards for quality health-care services for adolescents: a guide to implement a standards-driven approach to improve the quality of health care services for adolescents. World Health Organization [Internet]. 2015 [Cited 2023 Jan 19]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/183935
Westerlund, F.. Heidegger and the Problem of Phenomena. London: Bloomsbury [Internet]. 2020 [Cited 2023 Jan 19]. Available from: https://www.bloomsburycollections.com/book/heidegger-and-the-problem-of-phenomena/
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. มาตรฐานการจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 24 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook/form/87
มาลี เกื้อนพกุล. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาที่ต้องร่วมกันแก้ไข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556; (พิเศษ): 33-46.
ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, วนิดา ศรีพรหมษา, ดวงพร ถิ่นถา, สถิดาภรณ์ สุระถิตย์ และ เพ็ญศิริ ศรีจันทร์. การจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยเจริญพันธุ์สำหรับวัยรุ่น ตามการรับรู้ของวัยรุ่นในชนบท จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2559; 17(2): 43-56.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การให้คำปรึกษาทางเลือกสำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล 2559; 31(2): 5-16.
นุสรา นามเดช, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล และ อรทัย สงวนพรรค. ความร่วมรู้สึกในการพยาบาล: คุณลักษณะพยาบาลที่ปัญญาประดิษฐ์ทดแทนไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(3): 287-299.
รุจา ภู่ไพบูลย์, มนฤดี โชคประจักษ์ชัด และ ภูริพันธ์ ภู่ไพบูลย์. การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของวัยรุ่นหลังการดูละครโทรทัศน์ซีรี่ส์ “ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น”. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 2558; 7(1): 153-168.
วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, เปรื่องจิตร ฆารรัศมี, นพนันท์ ชัยภูมิ และ อรุณณี ใจเที่ยง. บริการสุขภาพและการเข้าถึงบริการสุขภาพของวัยรุ่น ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562; 37(3): 240-248.
Heidegger, M. Being and Time (MacQuaeeie J. & Robinson E. trans: New York: Harper & Row, 1962
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น