การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ในจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
องค์กรสมรรถนะสูง, คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ(คปสอ.)บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยวิเคราะห์ข้อมูลแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เพื่อศึกษาสถานการณ์ และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือคณะกรรมการและ ผู้ประสานงาน คปสอ.จำนวน 230 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test one way ANOVA – Post hoc Scheffe test
ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ( คปสอ.) ให้ความสำคัญ ด้านการนำองค์กรและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาบุคลากรและการบริหารทรัพยากร การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย
4 องค์ประกอบ ได้แก่ การนำองค์กรเชิงกลยุทธ์ การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ การจัดการความรู้และนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ สามารถยกระดับของ คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงได้อย่างมีประสิทธิผล อย่างไรก็ตาม การนำรูปแบบไปใช้จำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่ และการปรับใช้ให้เหมาะสม
การวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา คปสอ. ในจังหวัดกาฬสินธุ์และพื้นที่อื่นๆ สู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการสาธารณสุขในระดับอำเภอต่อไป
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). รายงานผลการศึกษาพัฒนารูปแบบเบื้องต้นของหน่วยงานภาครัฐ องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2557). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.)สำนักบริหารการสาธารณสุข.
สุรชัย สูตรสุวรรณ (2557). กระบวนการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการบริหารผลการปฏิบัติราชการของคณะกรรมการประสานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดนครพนม. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธงชัย ปัญญูรัตน์. ผลของรูปแบบการพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) จังหวัดกาฬสินธุ์ วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 15 : 2-138.
ธารทิพย์ ศรีสมัย, อารยา ประเสริฐชัย. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน ระบบสุขภาพระดับอำเภอ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา.วารสารสาธารณสุขแลวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2565; 5: 2-101.
สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, นิชนันท์ สุวรรณกูฎ, ยมนา ชนะนิล, ภูษณิศา มีนาเขตร (2559). การประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2559; 7: 2-105.
วีระศักดิ์ ประดาศักดิ์ (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดนครศรีธรรมราช.สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นุลาศ เจริญชัย (2562) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น