ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วรรณภา นิติมงคลชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรบุคคล, โรงพยาบาลชุมชน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลชุมชน สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัด 5 ระดับ มีค่า
ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.836 สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

ผลการศึกษา พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลชุมชน  สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมประเภทงานทั้ง 7 สายงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล จำนวน 6 ด้าน พบว่า ปัจจัย
ทุกด้านมีความความสัมพันธ์ทางบวกต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกมากที่สุด ได้แก่ การทำงานเป็นทีม (r = 0.702) การได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา (r = 0.698) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกปานกลาง ได้แก่ การพัฒนาทักษะหรือประสบการณ์ (r = 0.500) ความก้าวหน้าในวิชาชีพ (r = 0.421) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกน้อยได้แก่ ค่าตอบแทน (r = 0.331) การประเมินผลการปฏิบัติงาน (r = 0.309) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value = 0.01

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.ข้อมูลจากโปรแกรม HROPS ณ มกราคม 2566. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hrops.moph.go.th/

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท๊อป.

Tiensawad,S. (2019). Instrument Development for Nursing Research. Chiangmai: Siampimnana.

พัชรกันต์ นิมิตรศดิกุล. (2558) กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์. ความผูกพันองค์การ (Organizational Commitment) [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://anuruckwatanathawornwong.blogspot.com/2018/01/organizational-commitment.html

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาล ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธิดา โตพันธานนท์. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพันธ์ ยะกัณฐะ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วิทยานิพนธ์ รปม. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Mathis, R. L. & Jackson, J. .H. (2006). Human Resource Management (10th ed.). Singapore: Seng Lee Press.

กนกอร ยศไพบูลย์. (2538). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Taunton, R. L., Krampitz, S. D., & Wood, J. H. Manager Impact on Retention of Hospital Staff: Part 1. Journal of Nursing Administration 1989; 19(3).

Christina A. et al. Work environment risk factors for injuries in wood processing. Journal of Safety Research 2009; 40 (4): 247-255.

สุรีย์ ท้าวคำลือ. (2549). ปัจจัยคัดสรรที่ทำนายความตั้งใจที่จะคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา แซ่เตียว และทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. อิทธิพลของการบริหารผลงานต่อทัศนคติในการประเมินผลและพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรงุเทพ 2560; 16(1): 101-114.

ธวัชชัย สมตระกูล. (2557). ระบบการบริหารค่าตอบแทนของพนักงานธุรกิจดูแลรักษารถยนต์ที่มีผลต่อ เป้าหมายรายได้ของธุรกิจ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21