การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นในโรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยหลักความปลอดภัย 2P SAFETY

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ จุ้ยต่าย โรงพยาบาลสุโขทัย

คำสำคัญ:

การนิเทศทางการพยาบาล,, ผู้บริหารระดับต้น, 2P Safety

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้นในโรงพยาบาลสุโขทัย ด้วยหลักความปลอดภัย 2P Safety แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) เตรียมการพัฒนารูปแบบ 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล 3) นำรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลไปใช้ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารระดับต้น 29 คน และพยาบาลวิชาชีพ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) คู่มือการนิเทศทางการพยาบาล 3) แบบทดสอบความรู้ สมรรถนะ ความพึงพอใจของผู้บริหารระดับต้น 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ 5) แบบบันทึกผลลัพธ์ทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxon signed-ranks test, สถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้น ได้พัฒนาโดยใช้แนวคิดของพรอคเตอร์ ได้แก่ กิจกรรม กระบวนการนิเทศ ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศทางการพยาบาล ด้วยหลักความปลอดภัย 2P Safety 2) ความรู้ สมรรถนะ ความพึงพอใจของผู้บริหารระดับต้น และผู้รับการนิเทศ หลังใช้รูปแบบนิเทศที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value < 0.001) และผลลัพธ์การพยาบาลด้านความปลอดภัย 2P Safety หลังใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีอุบัติการณ์ความเสี่ยงระดับ E ขึ้นไป น้อยกว่าก่อนพัฒนา

ดังนั้น รูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้น ด้วยหลักความปลอดภัย 2P Safety ควรนำไปศึกษาครั้งต่อไปในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะโรค

References

นุชจรีย์ ชุมพินิจ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. [วิทยานิพนธ์].นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. 2561.

รายงานการประชุมความเสี่ยงโรงพยาบาลสุโขทัย. 2565.

Proctor, B. Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge. 2001.

วัชรีย์ แสงมณี, น้ำทิพย์ แก้ววิชิต, ปราโมทย์ ทองสุข, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, นงนุช บุญยัง, เจรจา กูลเกื้อ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของผู้บริหารระดับต้น ตามกรอบแนวคิด 2P Safety: SIMPLE (Medication error, Fall) โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2565; 1: 1-16.

การวิเคราะห์ทางสถิติแบบนอนพาราเมตริกซ์ 2. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://pioneer.chula.ac.th/~stosak/biostatlab/chapter12.pdf

ผ่องศรี สุพรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิสัย, กรรณิกา อำพน. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา 2556; 1: 12-26.

วันทนีย์ ตันติสุข. การพัฒนาแบบแผนการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

Sashkin,M.A manager’s guide to participative management. New York: AMA Membership Publication Division.1982.

ศิริวรรณ เมืองประเสิรฐ, อุษณีย์ คงคากุล, นริสา สะมาแอ, ทัศณียา ไข้บวช, จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา, สรวงสุดา เจริญวงศ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ [อินเทอร์เน็ต].2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 มกราคม 2566]; 2 :13-24. เข้าถึงได้จาก: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/download/122745/193403/319048

อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ, รุ่งนภา จันทรา, อติญาณ์ ศรเกษตริน. ประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล 2559; 3: 25-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-18