ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ากับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมเด็จ ภิมายกุล -
  • กนกวรรณ คชสีห์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

คำสำคัญ:

ทัศนคติ, พฤติกรรม, การบริโภคบุหรี่ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ากับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-5 จำนวน 425 คน ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดย การหาค่าความเที่ยงตรง (Item-Objective Congruence : IOC) และการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability)

ผลการวิจัย พบว่า ทัศนคติการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.88 , S.D.= 0.55) พฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.14, S.D.= 0.95) แนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษา มี 5 ประเด็น คือ (1) การรณรงค์ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ (2) สร้างกฎระเบียบ (3) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดี (4) การจัดการเรียนรู้ (5) การจัดกิจกรรมต่างๆ  

ข้อเสนอแนะ มหาวิทยาลัยที่สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถนำผลการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแผนกิจกรรม การจัดทำแผนหรือนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษาได้

References

สมตระกูล ราศิร, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ และธิติรัตน์ ราศิร. พฤติกรรมการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาทันตสาธารณสุข. ปี 2562. วารสารทันตาภิบาล ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2562).

ทิพยรัตน์ บุญมา, บุญวัฒน์ สว่างวงศ์ และวันจักร น้อยจันทร์. ทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และบุหรี่มวน. ปี 2564. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2564).

สมเด็จ ภิมายกุล. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัย คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปี 2563. ผลงานวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วันดี ราชทรัพย์ น้ำเพชร ประพฤติถ้อย อมรรัตน์ ทองพิจิตร และพิมลพรรณ ดีเมฆ.พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น จังหวัดกำแพงเพชร. ปี 2562. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล และคณะ. การพัฒนาแนวทางในการป้องกันและลดการสูบบุหรี่ในเยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน. ปี 2559. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรภา. ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2559).

ฐิติยา เนตรวงษ์, สุรัชนา ช่วยรอดหมด และรัชฎาพร ธิราวรรณ. แนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยปลอดบุหรี่ด้วยโครงการและชุมชนเป็นฐานการวิจัย. ปี 2562. วารสาร มทร.อีสานฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2562).

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560. หมวด 5 การคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/law.php?law=2

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการขับเคลื่อนการดำเนินงานสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://www.cmru.ac.th/news/4682-มร-ชม-mou-ขับเคลื่อนสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาปลอดบุหรี่.html

ณัฐพล รุ่งโรจน์สิทธิชัย. การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ที่มีต่อบุหรี่ไฟฟ้า. ปี 2560. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21