ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, องค์กรสมรรถนะสูง, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH-4T และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์วิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง ตามเกณฑ์การพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH-4T ในภาพรวมอยู่ในระดับกำลังพัฒนา(คะแนนเฉลี่ย 78.64)2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.= 0.64) 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (X3) และด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน (X5) สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 59.9 ข้อเสนอแนะ ควรมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับสมรรถนะของผู้นำองค์กร และควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ; 2562.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2556–2561). กรุงเทพฯ: วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย; 2556.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูง กระทรวงสาธารณสุข MoPH-4T. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
4.De Waal, A.A. The characteristics of a high performance organization; 2010 [cited 10 Sep 2023]. Available from: http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=931873
วารุณี ภูมิศรีแก้ว และธนวิทย์ บุตรอุดม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงของเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์ 2564; 9(1): 25-36.
สุนิสาร ธิปัตย์, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และสุดารัตน์ สารสว่าง. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของกรมแพทย์ทหารบก .วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ 2563; 11(2) :103-118.
โสรยา สุภาผล, สุวรรณี หงส์วิจิตร, ลัดดาวัลย์ สำราญ, ชุลีพร ลักขณาพิพัฒน์ และเพ็ญพิชชา โพธากุล. ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน และปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2564; 10(2): 211-225.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และพิสมัย เสรีขจรกิจเจริญ. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักส์; 2560.
Likert, R. The human organization: Its management and values. New York: McGraw-Hill. 1967.
รินทร์ลภัส ศักดิ์ชัยวัฒนา, จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์ และอัจฉรา นิยมาภา. การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งอิทธิพลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2566; 6(3): 1244-1265.
ลัดดาวัลย์ สำราญ โสรยา สุภาผล และนิมิตต์ สุขใจ. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) สาขาอู่ทอง. วารสารสังคมศาสตร์ 2564; 10(1): 76-85.
ลลิตา ปาละกูล และอรนันท์ กลันทปุระ. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2565; 8(3): 162-175.
วัชรพล โพธิ์พูนศักดิ์. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564; 11(2): 57-69.
ภูวนาถ ภาคีเคียนและจิรพงษ์ จันทร์งาม. อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชี สำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น 2566; 5(7): 35-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น