การประเมินแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ทิพย์ ศรีกงพลี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินผล , แบบจำลอง CIPP, แผนยุทธศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินแผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) โดยใช้ CIPP Model เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการวางแผนและประเมินผลด้านสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น ผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดระดับจังหวัด อำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวม 203 คน และประเมินผลการดำเนินงานยุทธศาสตร์สุขภาพ จำนวน 31 ตัวชี้วัด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านบริบท ( gif.latex?\bar{X}= 4.25, S.D. = 0.63) รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.12, S.D. = 0.65) ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 3.99, S.D. = 0.65) โดยด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลากรไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน            การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตาม บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ทางวิชาการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์

ผลการประเมินตัวชี้วัด จำนวน 31 ตัวชี้วัด บรรลุผล จำนวน 20 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 68.97 ไม่บรรลุผล จำนวน 9 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 31.03 ตัวชี้วัดที่เป็นเป้าหมายสูงสุด จำนวน 2 ตัวชี้วัด คือ อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด และอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี ไม่บรรลุตามเป้าหมาย 

ข้อเสนอแนะ (1) พัฒนาระบบสนับสนุนการดำเนินงาน การกำกับติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพ (2) ควรมีการปรับยุทธศาสตร์สุขภาพให้สอดคล้องกับภารกิจปัจจุบัน เพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจบริการสุขภาพปฐมภูมิไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แผนยุทธศาสตร์พัฒนาสุขภาพจังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2563-2565). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2562.

Stufflebeam D. L. For applying CIPP evaluation model checklist: A tool the CIPP model to assess projects and programs. Western Michigan University [Internet]. [cited 5 Mar 2023]; Available from: http://rszarf.ips.uw.edu.pl/ewalps/dzienne/cipp-model-stufflebeam 2015.pdf

Stufflebeam, D.L. Educational Evaluation and Decision Making. Illinois : Peacock 1981.

นฤมล เอกธรรมสุทธิ์ และสิรารักษ์ เจริญศรีเมือง. แนวทางการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPiest ในการประเมินโครงการทางสุขภาพ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2567; 11 (2): 137.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การประเมินแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข ระยะแรก (พ.ศ.2560-2564). นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2566.

สมจิตร เดชาเสถียร, เจษฎา สุราวรรณ์, พชรพร ครองยุทธ และปัทมา ล้อพงษ์พานิชย์. การประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีงประมาณ 2562 .วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562; 1(2): 159-169.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์: 2558.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550.

กนิษฐา จำารูญสวัสดิ์. การประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557). สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก 2557.

ไพรัช บวรสมพงษ์, สมศรี ศิริขวัญชัย และพรธิดา วิเศษศิลปานนท์. การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกําลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ. คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30