การพัฒนาแนวทางการตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิดเครือข่ายโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • พรรณี ตุยาใส โรงพยาบาลยโสธร
  • ดวงพร วัฒนเรืองโกวิท โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

การคัดกรองการได้ยิน, ทารกแรกเกิด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการตรวจคัดกรองการได้ยินของทารกแรกเกิด มี 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และวิเคราะห์สถานการณ์ โดยใช้แนวคิดของโดนาบีเดียน 2) ออกแบบพัฒนาเครื่องมือ และบุคลากร
3) ทดลองใช้เครื่องมือ 4)นำผลการทดลองมาปรับปรุง และประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 26 คน 2) ทารกแรกเกิดที่คลอดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2565 จำนวน 469 คน

ผลการวิจัย แนวทางการคัดกรองที่พัฒนาขึ้นเป็นการจัดบริการโดยแบ่งเขตโซนบริการ ตรวจการได้ยินเป็น 4 โซน จัดระบบการส่งต่อทารกเพื่อตรวจรักษา หลังพัฒนาทารกได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 95.73 พบทารกผิดปกติ ร้อยละ 0.85 ทุกรายได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนความรู้ และทักษะสูงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด, มารดามีความพึงพอใจระดับมาก

แนวทางการคัดกรองทารกแรกเกิดช่วยให้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากการพัฒนาในรูปแบบโซนบริการและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในเครือข่าย ควรให้คำแนะนำกับมารดาขณะตั้งครรภ์เพื่อสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองการได้ยินจะช่วยให้ทารกได้รับการคัดกรองมากขึ้น

Author Biography

ดวงพร วัฒนเรืองโกวิท, โรงพยาบาลยโสธร

0868724133 

doungpornwatt@gmail.com

References

สุนันทา พลปัถพี, นิตยา เกษมโกสินทร์. ความบกพร่องทางการการได้ยินในเด็ก. ใน: กิ่งแก้วปาจารีญ์ บรรณาธิการ. การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ. กรุงเทพ: กรีนพริ้ท; 2542: 217-227.

Robert JE, Wallace IF, Brackett D. Development of speech and language. In: Lalwani AK, Grudfast KM, editors. Pediatic otology and neurology. Philadelphia: Lippincott-Raven Publishers; 1998: 39-47.

ศรียา นิยมธรรม. ความบกพร่องทางการได้ยินผลกระทบอาการทางจิตวิทยาการศึกษาและสังคม. กรุงเทพ: รำไทยเพรส; 2538.

กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง โสต ศอ นาสิก และหอผู้ป่วยสูตินรีเวช. คู่มือการรับบริการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลราชวิถี. กรุงเทพ: โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ขวัญชนก ยิ้มแต้, มานัส โพธาภรร์, สุวิชา แก้วศิริ. คำแนะนำการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดของประเทศไทย. กรุงเทพ: โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

Lin HC, Shu MT, Lee KS, Lin G. Reducing false positive in newborn hearing screening Program: how and why. Otol Neurotol 2007; 28(6): 788-792.

เชิญขวัญ ฐิติรุ่งเรือง, ภานินี จารุศรีพันธุ์, เสาวรส ภทรภัทดิ์. การคัดกรองการได้ยินในเด็ก. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2561; 62(1): 53-65.

American Academy of Pediatrics: Joint Committee on Infant Hearing, Year 2007 position Statement: principles and guideline for early hearing detection and intervention programs. Pediatrics 2007; 120: 898-921.

Karchrner Ma. Allen TE. The function assesement of deaf and hard of hearing students. Am Ann Deaf 1999; 144(2): 68- 77.

World Health Organization. Newborn and infant hearing screening: Current issues and guiding principles for action. Switzeriand; 2009.

The joint Committee on infant Hearing YAER 2019 position statement: principles and guideline for early hearing detection and intervention programs. Pediatrices 2019; 4(2): 1-44.

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, ลลิดา เกษมสุวรรณ, ประชา นันทนมิต. การตรวจคัดกรอง การได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน (Otoacoustic emissions) ผู้ป่วยใหม่ใน 1ปีของโรงพยาบาลรามาธิบดี. ว. หู คอ จมูก และใบหน้า 2546; 4 :27-41.

รุ่งกานต์ เพชรล้วน. อุบัติการณ์การของการสูญเสียการได้ยินในทารกตรวจคัดกรองด้วยเครื่องตรวจวัดเสียง สะท้อนจากหูชั้นในโรงพยาบาลตะกั่วป่า.Krabi medical journal.2563; 3(1): 1-8.

อรอนงค์ วรรณสกล, จุไรรัตน์ เนื่องนำ, ชารีระห์ แวสามะ, กรพัฒน์ วรรณสกล. การพัฒนารูปแบบการคัดกรองการได้ยินในทารกกลุ่มเสี่ยงโรงพาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม; 2565.

คณะกรรมการโครงการของขวัญวันเด็ก. คู่มือดำเนินงานโครงการขอขวัญวันเด็กตรวจหูให้หนูได้ยิน; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-21