การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก, กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กอายุ 3–5 ปี และผู้เลี้ยงดูหลัก จำนวน 56 คู่ โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ เดือนตุลาคม 2565–กรกฎาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือ DSPM แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบวัดพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เลี้ยงดู สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยครอบครัวมีส่วนร่วม และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน ทำให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยหลังการทดลอง 89.5% ,ความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง 2.75 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI = 0.17–5.33, p-value = 0.037) และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของผู้ปกครองมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลอง 17.32 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% CI = 11.6-23.03,
p-value < 0.001)
ข้อเสนอแนะ ควรมีการบูรณาการกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยครอบครัวมีส่วนร่วมในหลักสูตรสาระการเรียนรู้ เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ต่อเนื่องทุกช่วงวัย
References
จันทร์อาภา สุขทัพภ์. การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล; 2565.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ระบบฐานข้อมูลกลางกระทรวงสาธารณสุข HDC : Health Data Center; 2565.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560–2569). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ: 2560.
สำนักนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564–2570. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด; 2564.
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7. คู่มือประกอบการจัดกิจกรรม Smart Kids Area 7 : SA. ขอนแก่น: 2566.
วารีทิพย์ พึ่งพันธ์, วราภรณ์ จิตอารี และภาพิมล บุญอิ้ง. แนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
สราญจิต อินศร, ยศสยา อ่อนคำ และฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็กอายุ 3–5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 10: 143–60.
มณฑา พรหมบุญ และอรพรรณ พรสีมา. (2549). “การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม”. ใน ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
วิมลพรรณ สังข์สกุล, ปัทมา ผ่องศิริ,จรูญศรี มีหนองหว้า และวิภาวี พลแก้ว. สถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มุ่งเน้นผลลัพธ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2564; 1: 1–18.
สะไกร กั้นกางกูล. การพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานอนามัยมารดาและทารกจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 1: 241–56
ศิริกัญญา ฤทธิ์แปลก. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1–3 ปี โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนตำบลบ้านยาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย 2559; 11: 99-109.
พูนศิริ ฤทธิรอน, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ, พัสตราภรณ์ แย้มเม่น และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564; 3: 42–56.
จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2562; 1: 70–85.
เบ็ญจมาศ สลิลปราโมทย์. คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 3: 114-125.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น