การประเมินผลการจัดการภาวะวิกฤตการเงินการคลัง โรงพยาบาลน้ำพอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศิริธร ยอดสะอึ โรงพยาบาลน้ำพอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินแบบซิพพ์, ภาวะวิกฤตการเงินการคลัง, สถานะการเงินการคลัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการภาวะวิกฤตการเงินการคลัง โรงพยาบาลน้ำพอง ปี 2563-2565 ตามแนวคิดการประเมินแบบซิพพ์ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) บริบท 2) ปัจจัยนำเข้า 3) กระบวนการ 4) ผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลวิกฤตการเงินการคลัง ข้อมูลประเมินประสิทธิภาพการเงินการคลัง ข้อมูลอัตราส่วนประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและบริหารจัดการ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร กรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรรมการจัดเก็บรายได้

ผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบท โรงพยาบาลขยายบริการรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ในปี 2563 เกิดวิกฤตการเงินการคลัง ค่าความเสี่ยงทางการเงิน ระดับ 3 ด้านปัจจัยนำเข้า เพื่อจัดการปัญหา เช่น งบประมาณ บุคลากร การบริหารคลังพัสดุ การควบคุมค่าใช้จ่าย การเฝ้าระวังสถานการณ์การเงินต่อเนื่อง และเทคโนโลยี ด้านกระบวนการ เช่น การบริหารรายได้ ควบคุมรายจ่ายตามแผนเงินบำรุงและแผนการเงินการคลัง พัฒนาระบบเรียกเก็บรายได้ จัดหาคณะกรรมการทบทวนสรุปวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง ติดตามตรวจสอบต่อเนื่อง ด้านผลผลิต ภาวะวิกฤตการเงินการคลัง ระดับ 2-4 ในปี 2563-2564 ลดลงจนไม่มีภาวะวิกฤต ตลอดปี 2565 เงินบำรุงมีสภาพคล่อง และแนวโน้มดีขึ้นทุกด้าน ผลประกอบการมีกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

การประเมินแบบซิพพ์ สามารถใช้ประเมินการจัดการภาวะวิกฤตทางการเงิน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นโอกาสพัฒนาหรือปัจจัยแห่งความสำเร็จ นำไปสู่กระบวนการจัดการภาวะวิกฤตทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

References

พิทักษ์พล บุณยมาลิก, ธิดา จิตมณีวัต. แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาล ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข2564; 15: 477-489.

กิจฐเชต ไกรวาส และคณะ. ธรรมาภิบาลในการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ. ชลบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือบัญชีหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://nayok.moph.go.th/web/wp-content/uploads/2022/06/web-eb2-eb2-10-.pdf

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. การควบคุมภายในและ

การตรวจสอบภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส; 2551.

เจริญ เจษฎาวัลย์. การบริหารความเสี่ยง. พิมพ์ครั้งที่5. นนทบุรี: บริษัท พอดี จำกัด; 2550.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล; 2551.

อุษณา ภัทรมนตรี. การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ = Modern internal auditing /พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

Bigs, C. L. Birks, E. G. and Atkins, W. Managing the systems development process.Engle wood Cliffs, NJ : Prentice Hall; 1980.

ภูมิศักดิ์ ราศี. แบบจำลองการประเมินผลโครงการกรณี แบบจำลอง CIPP Model. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 25 ส.ค.2566]. เข้าถึงได้จาก: https://suwanlaong.wordpress.com/2013/05/24/แบบจำลอง-cipp-model/.

อัศว์ศิริ ลาปีอี และคณะ. การประเมินโครงการ “3ล้าน3 ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน”ด้วยรูปแบบ CIPP Model กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล. วารสารปาริชาต 2562; 31: 89-102.

ปริญดา ทุนคำ, จินตนา จันทร์ดี. การประเมินและข้อเสนอแนะการบริหารการเงินการคลังในโรงพยาบาลที่เคยประสบภาวะวิกฤตทางการเงินรุนแรง ระดับ 7 เขตสุขภาพที่ 1. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย.2565]. เข้าถึงได้จาก:https://wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/news/int-news/item/download/5692_ceb071cbb1d2a0cbf95650f720813365.

สุทธิพงษ์ ภาคทอง. ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกัน สุขภาพพื้นที่ โดยใช้กระบวนการกลุ่มในกระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13: 178-185.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30