การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบโรงพยาบาลสกลนคร
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยสูงอายุ, ภาวะปอดอักเสบ, แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกบทคัดย่อ
ภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยสูงอายุ ทำให้นอนโรงพยาบาล และเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นและรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตถ้ามีการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบ โรงพยาบาลสกลนคร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ จำนวน 18 คน 2) ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษา
ตึกอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก (CNPGs) 2) แบบประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลวิจัย พบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบ แบ่งเป็น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะปอดอักเสบที่ยังไม่ได้ใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ และใส่ท่อเครื่องช่วยหายใจ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ประเมินผลลัพธ์ด้านพยาบาลวิชาชีพ ส่วนใหญ่ปฏิบัติทุกครั้ง มากกว่าร้อยละ 83.73 ส่วนด้านผู้ป่วยตรวจไม่พบ เชื้อก่อโรค ภาวะดื้อต่อยาจุลชีพ ภาวะแทรกซ้อนในขณะพักรักษาตัว อัตราการเสียชีวิตลดลง แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก (CNPGs) ที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้ได้ง่าย
ควรมีการติดตาม กำกับและประเมินผลเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
References
Chebib N, Cuvelier C, Malézieux-Picard A. et al. Pneumonia prevention in the elderly patients: the other sides. Aging Clin Exp Res 2021;33: 1091–1100. https://doi.org/10.1007/s40520-019-01437-7
สุภัตตรา อินทร์คำน้อย. รายงานผู้ป่วยการพยาบาลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวตามทฤษฎีการปรับตัวของรอย: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2563; 23: 148-159.
Miyashita N, & Yamauchi Y. Bacterial pneumonia in elderly Japanese populations. Japanese clinical medicine 2018; 9, 1179670717751433. doi.org/10.1177/1179670717751433
สิริพงษ์ แทนไธสง, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, พรฤทธิ์ พิสุทธิมาน. ลักษณะทางระบาดวิทยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใส่ท่อช่วยหายใจของผู้ป่วยโรคปอดบวมที่รักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6: 35-35.
ศรีสุดา อัศวพลังกูล และมงคล สุริเมือง. ประสิทธิผลของการโค้ชต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการ เกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและผลลัพธ์ทางคลินิก. Ramathibodi Nursing Journal 2563; 26: 138-154.
National Health and Medical Research Council. [NMRC]. (1999). A guide to the developmental, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. [Internet]. [cited 2022 Sep 10]. Available from: https://www.nhmrc.gov.au/sites/default/files/images/a-guide-to-the-development-and-evaluation-of-clinical-practice-guidelines.pdf
ฉวีวรรณ ธงชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. JTNMC [Internet]. 2012 Aug 22 [cited 2023 Sep 10]; 20(2): 63. Available from: https://he02.tcithaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2245
ทิพวัลย์ รัตนพันธ์, ทิพมาส ชิณวงศ์ และขนิษฐา นาคะ. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการ พยาบาลเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวในผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัดช่องท้อง (Doctoral dissertation, มหาวิทยาลัย สงขลา นครินทร์). วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2564; 41: 60-73.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ = The methodology in nursing research. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
สมร ประทุมไทย. ผลการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะในโรงพยาบาลบึงสามพัน. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2021; 6: 99-106.
กัลยรัตน์ สังข์มรรทร, ศศิธร กระจายกลาง, เพ็ญจันทร์ วันแสน. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2021; 36: 327-342.
Faverio P, Aliberti S, Bellelli G, Suigo G, Lonni S, Pesci A, & Restrepo,M I. The management of community-acquired pneumonia in the elderly. European journal of internal medicine 2014; 25: 312-319.
เพชรรุ่ง อิฐรัตน์. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562; 16: 72-82.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น