การพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • สุนิธิ เธียระวิบูลย์ โรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน ระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอน และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา, paired samples T-Test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มี 4 ขั้นตอน ดังนี้ การวิเคราะห์สถานการณ์ การพัฒนาโปรแกรม จัดกิจกรรมตามโปรแกรม และการประเมินผล แผนการสอน มี 5 กิจกรรม ได้แก่ การสร้างสัมพันธภาพที่ดี, ประเมินการรับรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก และการเข้ารับบริการทันตกรรม, เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ ความรุนแรงและอุปสรรคของการดูแลทันตสุขภาพ, การลดความรู้สึกกลัว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ โดยพบว่า หลังพัฒนาผู้สูงอายุมีการรับรู้ และพฤติกรรมการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากระดับสูงเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 57.6 คะแนน (95%CI = 1.93-2.73, p-value < 0.001) พฤติกรรมการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 53.3 คะแนน (95%CI = 1.81-2.49, p-value < 0.001) และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพช่องปาก เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20.5 คะแนน (95%CI = 7.21-10.05, p-value < 0.001)

ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลดูแลสุขภาพช่องปากในชมรมผู้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตทางสุขภาพช่องปากที่ดีเพิ่มขึ้น

References

กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www. chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document

Gil-Montoya JA, de Mello AL, Barrios R, Gonzalez-Moles MA, Bravo M. Oral health in the elderly patient and its impact on general well-being: A nonsystematic review. Clin Interv Aging 2015; 10: 461-467. doi: 10.2147/CIA.S54630

Chapple IL, Mealey BL, Van Dyke TE, Bartold PM, Dommisch H, Eickholz P, Goldstein M. Periodontal health and gingival diseases and conditions on an intact and a reduced periodontium. Journal of periodontology 2018; 89: 74-84.

World Health Organization. Oral health. [Internet]. 2023 [Cited 2023 Jun 14]. Available from: https://www. who.int/ healthtopics /oral-health/

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

สำนักทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและตัวชี้วัดการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของประชาชน. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dental.anamai.moph.go.th/th/evidence-of-government-service

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. การดำเนินงานทันตสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www. chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document

Wayne WD. Biostatistics: A Foundations for Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: Wiley & Sons; 1995.

พิชญสุดา เชิดสกุล, นิรุวรรณ เทิร์นโบล์, กู้เกียรติ ทุดปอ. การพัฒนารูปแบบการดูแลและเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยเครือข่ายชุมชน ในเขตตำบลจิกเทิง อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2565; 11(1): 63-70.

Bandura A. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological review 1977; 84(2): 191-215.

House JS. Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley; 1981.

Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son; 1967.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

Lee JH, Yi SK, Kim SY, Kim JS, Kim HN, Jeong SH, Kim JB. Factors related to the number of existing teeth among korean adults aged 55–79 years. International journal of environmental research and public health 2019; 16(20): 27-39.

มณฑกานติ์ สีหะวงษ์. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(3): 418-31.

Ahn E, Lee JH, Kim SM. Impact of social support on subjective oral health status among elderly people. Journal of dental hygiene science 2020; 20(2): 67-73.

อุดมพร ทรัพย์บวร. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2562; 38(4): 244-55.

รัชนี เจริญเจียงชัย, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และธีระวุธ ธรรมกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลสิรินธร สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วารสาร มฉก.วิชาการ 2564; 25(1): 25-34.

พัชรี เรืองงาม. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลพรานกระต่าย. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2564; 18(2): 130-41.

สุเทียน แก้วมะคำ, อารีย์ แก้วมะคำ. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุติดบ้านในอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร 2561; 10(1): 37-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30