การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลสายออ อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ กอบสันเทียะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสายออ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาสภาพการดำเนินงาน การพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน และประเมินและถ่ายทอดรูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล การคัดเลือกประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้  เป็นผู้ที่มีบทบาทในการปฏิบัติงาน ในองค์กรส่วนท้องถิ่น องค์กรรัฐ องค์กรชุมชน ในพื้นที่ จำนวน 244 คน เพื่อศึกษาข้อมูลด้านความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วม ก่อนและหลังดำเนินการ โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลข้อมูล ด้วยสถิติ Paired T-test จากนั้น คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน จากผู้นำทั้ง 3 องค์กร เพื่อศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้านนโยบายการดำเนินงานตำบลจัดการคุณภาพชีวิต โครงสร้างการดำเนินงาน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และสังเกตการณ์มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้มีโครงการเพื่อดำเนินการพัฒนางานตำบลจัดการคุณภาพชีวิต 6 โครงการ และการมีส่วนร่วม ก่อนและหลังดำเนินการ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. แนวทางการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการ. ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน; 2565.

Kemmis, S.,& McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria:Deakin University Press; 1988.

นิสา ปัญญา. การพัฒนารูปแบบตำบลจัดการคุณภาพชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนส้มปอย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

ประสพ สารสมัคร. การจัดการความรู้และการพัฒนาการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพดี

วิถีไทยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลบ้านแดง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

สมประสงค์ ปิวไธสง. การพัฒนาการบริหารนโยบายสุขภาพของชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอเมืองชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาคารพญาไท; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-16