คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้งานฟันเทียมของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ หาญอาษา โรงพยาบาลร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ, ฟันเทียม

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฟันเทียมของผู้สูงอายุที่รับการใส่ฟันเทียมจากกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลร่องคำ พ.ศ.2561-2565 กลุ่มตัวอย่าง 149 คน สุ่มแบบเป็นระบบ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ดังนี้ ข้อมูลทั่วไป, คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ป่วยไร้ฟัน, พฤติกรรมในการดูแลและใช้ฟันเทียม และการใช้งานฟันเทียม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ด้วย Chi-Square และ Fisher’s exact test

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียม ตอบแบบสอบถามกลับ ร้อยละ 93.96 ซึ่งผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.43 มีอายุเฉลี่ย 73.79 ปี และใช้งานฟันเทียมได้ปกติ ร้อยละ 50.71 คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากระดับสูง ร้อยละ 52.14 และพฤติกรรมการดูแลและใช้ฟันเทียม ระดับสูง ร้อยละ 51.42 ทั้งนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฟันเทียมของผู้สูงอายุ ได้แก่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (p-value = 0.020), คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (p-value < 0.001), และ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก (p-value < 0.001) การศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ต่อการใช้งานฟันเทียมของผู้สูงอายุ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปพัฒนาระบบการให้บริการฟันเทียมของผู้สูงอายุในพื้นที่

References

Sischo L, Broder HL. Oral health-related quality of life: What, why, how, and future implications. J Dent Res 2011; 90: 1264–70.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด; 2561.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาสุขภาพช่องปาก.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcksn.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

Allen F, Locker D. A modified short version of the oral health impact profile for assessing health-related quality of life in edentulous adults. Int J Prosthodont 2002; 15: 446-50.

Wayne, W. D. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. John Wiley & Sons, Inc.; 1995.

รัชนีวรรณ ภูมิสะอาด และวรยา มณีลังกา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลซำสูง อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2564; 32(1): 89-102.

พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธ์, ทรงชัย ฐิตโสมกุล, และไพฑูรย์ ดาวสดใส. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยว ที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปแบบภาษาไทย. J DENT ASSOC THAI 2014; 64(1): 26-46.

Locker D, Matear D, Stephens M, et al. Comparison of GOHAU and OHIP-14 as measures of the oral health-related quality of life of the elderly. Community Dent Oral Epidemiol 2002; 29: 373-81.

Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

Limpuangthip N., Somkotra T., and Arksornnukit. Impact of Denture Retention and Stability on Oral Health-Related Quality of Life, General Health, and Happiness in Elderly Thais. Current Gerontology and Geriatrics Research 2019; Article ID 3830267, 8 pages, 2019. https://doi.org/10.1155/2019/3830267

ภานุศักดิ์ อินทสะโร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(2): e259620.

Singh H, Sharma S, Singh S, Wazir N, Raina R. Problems faced by complete denture-wearing elderly people living in jammu district. J Clin Diagn Res 2014; 8(12): ZC25-7.

Shaik PS, Medapati A., Pachava S., et al. Impact of denture on oral health-related quality of life in assisted living facility elder, Guntur District, Andhra Pradesh. J Indian Assoc Public Health Dent 2022; 20: 241-6.

Yen, YY., Lee, HE., Wu, YM. et al. Impact of removable dentures on oral health-related quality of life among elderly adults in Taiwan. BMC Oral Health 2015;15(1). https://doi.org/10.1186/1472-6831-15-1

Mongkoldaeng T., Sandee R., Chatiketu P., et al. The Quality of Denture Influencing Oral-Health-Related Quality of Life in Complete Denture Wearing Older Adults: A Systematic Review. CM Dent J 2022; 43(3): 13-22.

ณฤดี ลิ้มปวงทิพย์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ที่ใช้ฟันเทียมทั้งปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. J DENT ASSOC THAI 2019; 69(4): 369-78.

ธันวา อินทรสุขสันติ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก กับพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของผู้มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(2): 104-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-12