ผลของโปรแกรมเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดปัญหาโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

ผู้แต่ง

  • มกรารัตน์ หวังเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • จุราพร สุรมานิต โรงพยาบาลส่งเสริมศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น
  • อาภัสรา มาประจักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดผลก่อน-หลัง เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่อระดับฮีมาโตคริต (Hct) และความรอบรู้ด้านสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยกลุ่มตัวอย่างมาฝากครรภ์ครั้งแรก อายุครรภ์ไม่เกิน12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุม 30 ราย ดูแลตามมาตรฐาน และกลุ่มทดลอง 30 ราย เข้าโปรแกรมฯ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ โปรแกรมประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) สร้างสัมพันธภาพ ความตระหนัก ร่วมกับผู้ดูแล บันทึกข้อตกลง และปฏิทินเตือนกินยา 2) การเข้าถึงข้อมูล 3) คลังความรู้ แผ่นพับเมนูเสริมธาตุเหล็ก E book 4) ติดตามเยี่ยม ทำแบบประเมินการรับประทานยา และอาหาร 5) บันทึกความสำเร็จ โดยทั้งสองกลุ่มทำแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง ก่อนหลัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test, Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และวัดความเข้มข้นของเลือดที่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์

ผลการศึกษา : ค่าเฉลี่ย Hct ก่อน-หลังในกลุ่มควบคุมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ในขณะที่กลุ่มทดลองสามารถคงระดับของ Hct และมีแนวโน้มที่ค่าเฉลี่ย Hct สูงกว่ากลุ่มควบคุม ค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูล  

โปรแกรมฯ มีแนวโน้มช่วยพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และช่วยคงระดับ Hct ไม่ให้ลดลงได้

References

Institutc for Population and Social Roscarch Mahidol University.Buddhism and the healthpromotion [Internet]. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research Mahidol University; 2018 [cited 2023 May 15]. Availablc from: https:// www.hiso.or.th/hiso/ picture/reportHcalth/ThaiHcalth2018 /thai2018_8.pdf. (in Thai)

Beckert RH, Baer RJ, Anderson JG, Jelliffe- Pawlowski LL, Rogers EE.Maternal ancmiaand pregnancy outcomes: A population-based study.TJOG 2019; 39: 911-9.

World Health Organization. Prevalence of anaemia in pregnant women [Internet]. Oeneva:World Health Organization; 2016 [cited 2023 april 20]. Availablc from: https: //www.who.int/data/ gho/data/ indicators/indicator-dctails/OHO/prevalencc-of-anacmia-in-pregnant-women

Maternal and Child Health. Anemia in pregnant women reported.2017-2019(copy documents).KhonKacn: KhonKacn Provincial Public Health Office; 2020. (in Thai)

Burcau of Nutrition Department of Health.Guideline the control and prevention of irondcficiency ancmia [Internct]. Nonthaburi: Bureau of Nutrition; 2013 [cited 2023 April 15]. Availablc from: http://doh.hpc. go.th/data/mch/IDAControl.pdf. (in Thai)

Tashara IF, Achen RK, Quadras R, D'SouzaMV, D'Souza PJJ, Sankar A. Knowledgc andself-reported practices onprevention of iron deficicncy ancmia among women of reproductive age in rural arca. IJASR 2015; 1(7): 289-92.

Antenatal clinic and breast fecding clinic.Model for promoting health literacy about take ironsupplement tabletsin pregnant women and lactating women [Internet]. Nakhon Sawan: Hcalth Center 3 NakhonSawan; 2019 [cited 2023 April 20]. Available from: http:/ /km.hpc3. org/wpfb. (in Thai)

วนิดา อุตตรนคร.ประสิทธิผลของรายการอาหารบำรุงเลือดต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563; 13: 475-483

สมาพร สุรเตมีย์กุล พย.บ.เกศินี สราญฤทธิชัย ปร.ด. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตัวและระดับฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพปีที่ 2564; 44: 41-54

Health Education Division Department of health service support Ministry of Public Health. Health literacy [Internet]. Nonthaburi: Health Education Division; 2011 [cited 2023 April 10]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/69. (in Thai)

Archana M. Agarwal, Anton Rets. Laboratory approach to investigation of anemia in pregnancy. [Internet]. 2021 [cited 2023 April 10] Available from: https://onlinelibrary.willey.com

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistics (5th ed.). Duxbery: Thomson learning, 308.

Asavaritikrai W, Pangbupha B, Aroonpacmongkol S. Effectiveness of management system of iron deficiency anemia in pregnancy:A study in affiliated hospitals of health promotion center region 4. Region 4-5 Medical Journal 2014; 33(4): 249-60. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31