ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีงบประมาณ 2566

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช วิรัตน์เกษ กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการทันตกรรม, ทันตสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 221 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ดังนี้ คุณลักษณะส่วนบุคคล
ความเชื่อเรื่องทันตสุขภาพ การสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพ และการเข้าถึงบริการทันตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานด้วสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 97.29 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.35 มีอายุเฉลี่ย 61.06 ปี ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 8.95 ปี ระดับน้ำตาลในเลือดล่าสุดเฉลี่ย 145.23 มก./ดล. และเข้ารับบริการทันตกรรมในรอบปีที่ผ่านมา ร้อยละ 45.12 ทั้งนี้
ความเชื่อเรื่องทันตสุขภาพ ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนระดับสูง ร้อยละ 52.56, การสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพ ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนระดับปานกลาง ร้อยละ 50.70 และ การเข้าถึงบริการทันตกรรม ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนระดับสูง ร้อยละ 82.79 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ รายได้ (r = 0.174, p-value = 0.011), ระดับน้ำตาลในเลือดล่าสุด (r = -0.129, p-value = 0.047), ระดับความดันโลหิตตัวบน (r = -0.228, p-value = 0.001), ระดับความดันโลหิตตัวล่าง (r = 0.137, p-value = 0.045), ความเชื่อเรื่องทันตสุขภาพ (r = 0.296, p-value <0.001) และการสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพ (r = 0.251, p-value < 0.001)

References

Kidambi, S., & Patel, S. B..Diabetes mellitus: considerations for dentistry. The Journal of the American Dental Association 2008; 139: 8S-18S.

Wang, T. F., Jen, I. A., Chou, C., & Lei, Y. P. Effects of periodontal therapy on metabolic control in patients with type 2 diabetes mellitus and periodontal disease: a meta-analysis. Medicine 2014; 93(28).

Sunita M, & Gurdasham S. Dental Management of Diabetic Patient: A Clinical Review. [internet]. 2014 [Cited 15 Jun 2023]; Available from: https://www.researchgate.net/publication 308022514_Dental_Management_Of_Diabetic_Patient_A_Clinical_Review

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545. (2554, 18 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 119 ตอนที่ 116ก, น. 13-14). [อินเตอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://nih.dmsc.moph.go.th/law/pdf/031.pdf

บุญเอื้อ ยงวานิชากร. การกำหนดเป้าหมายทันตสุขภาพประเทศไทย 2563. วารสารทันตสาธารณสุข 2552; 14(2): 38-48.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service plan สาขาสุขภาพช่องปาก.[อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcksn.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5

Andersen, R. M. Revisiting the behavioral model and access to medical care: does it matter?. Journal of health and social behavior 1995; 1-10.

Davidson, P. L., & Andersen, R. M. Determinants of dental care utilization for diverse ethnic and age groups. Advances in Dental Research 1997; 11(2): 254-62.

Martins, A. M., Barreto, S. M., & Pordeus, I. A. Utilization of dental services among the elderly in Brazil. Revista Panamericana de Salud Publica= Pan American Journal of Public Health 2007; 22(5): 308-16.

Penchansky, R., & Thomas, J. W. The concept of access: definition and relationship to consumer satisfaction. Medical care 1981; 127-40.

Guay, A. H. Improving access to dental care for vulnerable elders. Journal of dental education 2005; 69(9): 1045-8.

Wayne, W. D. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. John Wiley & Sons, Inc.; 1995.

นิลุบล ดีพลกรัง. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมภาครัฐของผู้สูงอายุในเขตอำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564; 3(1): 1-19.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จามจุรี โปรดักส์; 2554.

Best, J.W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall; 1977.

Elifson, K.W., Runyon, R.P., & Haber, A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

เพ็ญนภา ทองอินทร์, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์ และวรรธนะ พิธพรชัยกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้ป่วยเบาหวานวัยทำงานที่ได้รับการคัดกรองและพบว่ามีความจำเป็นต้องรับการรักษาทันตกรรม จังหวัดกระบี่. J DENT ASSOC THAI 2022; 72(4): 580-7.

AlTuraiki AM, Jaemal HM, Alamer AA, Alghwainem AA, Althabit TA, Alamri A, Nazir MA. Oral Health and Patterns of Dental Visits Among Diabetic Patients in the Eastern Province of Saudi Arabia. Clin Cosmet Investig Dent 2021; 13: 513-20.

ปิ่นทอง ประสงค์สุข. การเข้าถึงบริการทันตรรมของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

สุวรรณา เอื้ออรรถการุณ และพัชรวรรณ สุขุมาลินทร์. ประเมินผลการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคในช่องปากที่มุ่งเน้นการเข้าถึงบริการในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ภายใต้นโยบาย Fee schedule. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2565; 45(2): 40-9.

Bakhshandeh S, Murtomaa H, Vehkalahti MM, Mofid R, Suomalainen K. Oral self-care and use of dental services among adults with diabetes mellitus. Oral Health Prev Dent 2008; 6(4): 279-86.

Barman D, Ranjan R, Kundu A. Factors associated with dental visit and barriers to the utilization of dental services among tribal pregnant women in Khurda district, Bhubaneswar: A cross-sectional study. J Indian Soc Periodontol 2019; 23(6): 562-8.

ธันวา อินทรสุขสันติ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของผู้มารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลห้วยผึ่ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(2): 104-15.

กฤษฎชาติ ภาชนะวรรณ และปาริชา นิพพานนท์. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(1): 1-9.

สุรเกียรติ สีสาร และจุฬาภรณ์ โสตะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2560; 10(2): 22-32.

มารุต ภู่เพนียด และณปภา ประยูรวงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561; 18(2): 66-75.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-30